ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.3~กฎการแยกพื้นที่~

กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.3~กฎการแยกพื้นที่~

คอลัมน์

2023.12.21

สำหรับผู้เล่นมือใหม่หลายคนอาจคิดว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่กฎค่อนข้างซับซ้อน แต่จริงๆแล้วในกีฬากอล์ฟมีกฎมากมายสำหรับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น คุณสามารถสนุกกับการเล่นกอล์ฟได้แม้ว่าจะจำกฎไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็มีกฎของแต่ละพื้นที่ที่อย่างน้อยก็ควรจำเอาไว้
ดังนั้นในบทความนี้จะมาแนะนำกฎที่หากจำเอาไว้ก็จะสามารถสนุกกับการลงเล่นในสนามจริง และเพลิดเพลินกับการดูการถ่ายทอดการแข่งขันกอล์ฟได้
หากหลังจากนี้คุณมีแผนที่จะลงเล่นในสนามจริงกรุณาตรวจสอบกฎให้แน่ใจก่อนลงเล่น

【สารบัญ】
1.แท่นตั้งที (teeing ground)
2.กรีน (putting green)
3.บังเกอร์ (bunker)
4.penalty area
5.general area
6.สรุปในครั้งนี้

แท่นตั้งที (teeing ground)

แท่นตั้งทีคือ พื้นที่เริ่มต้นการเล่นในแต่ละหลุมโดยผู้เล่นจะเริ่มเล่นจากบริเวณนี้
กฎของพื้นที่นี้คือ อย่างแรกหากส่วนหนึ่งของลูกกอล์ฟอยู่ในเขตพื้นที่ ให้ถือว่าลูกกอล์ฟนั้นอยู่ในเขตแท่นตั้งที และนอกจากนี้ นอกเขตแท่นตั้งทีหมายถึง เมื่อลูกกอล์ฟทั้งหมดอยู่นอกเขตพื้นที่
กฎข้อที่ 2 คือ กรณีที่เล่นลูกกอล์ฟที่อยู่นอกเขตแท่นตั้งที จะได้รับโทษปรับ 2 สโตรคและต้องเล่นใหม่โดยต้องเล่นจากแท่นตั้งที จำนวนสโตรคของลูกกอล์ฟที่ตีจากพื้นที่นอกแท่นตั้งทีจะไม่ถูกนับ และการตีช็อตต่อไปจะนับเป็นช็อตที่ 3
กฎข้อที่ 3 คือ ถ้าหากขยับทีตั้งลูกกอล์ฟ คุณจะได้รับโทษปรับ 2 สโตรค ทีตั้งลูกกอล์ฟคือสิ่งที่กำหนดบริเวณของแท่นตั้งทีจึงไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้ และการทำการเคลื่อนย้ายทีตั้งลูกกอล์ฟเพียงเพราะมันเกะกะการยืนถือเป็นการละเมิดกฎ

กรีน (putting green)

กรีนคือ พื้นที่ลำดับสุดท้ายของหลุมในสนามกอล์ฟและหลุมกอล์ฟจะถูกติดตั้งไว้ในบริเวณนี้
กฎของพื้นที่นี้คือ อย่างแรกหากลูกกอล์ฟที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ 2 ลูกเกิดการชนกันในบริเวณนี้ ช็อตที่เข้าข่ายของทั้งสองฝ่ายจะถูกยกเลิกและต้องนำลูกกอล์ฟกลับไปยังตำแหน่งเดิมและตีใหม่อีกครั้ง ถ้าเป็นกรณีที่ลูกกอล์ฟลูกหนึ่งวิ่งไปชนกับลูกกอล์ฟที่หยุดนิ่งอยู่ ฝ่ายชนจะได้รับโทษปรับ 2 สโตรค และสามารถเล่นจากตำแหน่งนั้นต่อไปได้ ฝ่ายที่ถูกชนจะเริ่มใหม่จากตำแหน่งเดิม
กฎข้อที่ 2 คือ กรณีที่มีน้ำขังบริเวณเท้าในตำแหน่งที่ยืนอยู่หรือบนพัตติ้งไลน์ของผู้เล่น สามารถทำการย้ายตำแหน่งลูกกอล์ฟเพื่อเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำขัง แต่ต้องใกล้กับตำแหน่งเดิมและไม่เคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่เข้าใกล้หมุด เมื่อดำเนินการในขั้นตอนนี้ ในบางกรณีที่พบได้ยากพื้นที่ผ่อนปรนอาจอยู่นอกเขตกรีน ในกรณีนี้หากคุณยอมรับการผ่อนปรนตามนั้นก็สามารถเล่นต่อได้โดยการตีจากพื้นที่นอกกรีน
กฎข้อที่ 3 คือ กรณีที่ผู้เล่นพัตติ้งโดยการกางร่มในวันที่ฝนตก ในขณะที่ตีลูก การยืมมือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ห้ามทำและการให้ผู้อื่นกางร่มให้ก็เข้าข่ายการละเมิดกฎเช่นเดียวกัน แต่หากคุณเล่นโดยกางร่มเองจะไม่มีบทลงโทษเพราะไม่ได้ให้ผู้อื่นช่วย

บังเกอร์ (bunker)

บังเกอร์คือ สิ่งกีดขวางที่เป็นหลุมเป็นบ่ออยู่ในสนามโดยส่วนมากจะเป็นดินทราย อย่างแรกเมื่อทำการแอดเดรสในบังเกอร์ต้องไม่ตั้งฐานของหัวไม้ลงบนพื้น โดยปกติแล้วจะทำให้ฐานของหัวไม้ลอยเหนือพื้นเล็กแล้วค่อยสวิง
กฎข้อที่ 2 คือ สามารถหยิบก้อนกรวดหรือกิ่งไม้ออกได้ ในขณะตีช็อตหากมีก้อนกรวดหรือกิ่งไม้อยู่บริเวณใกล้ๆ สามารถหยิบออกได้อย่างไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้เรียกว่า สิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้หรือ loose Impediment ซึ่งรวมถึงใบไม้และก้อนดินด้วย
กฎข้อที่ 3 คือ ห้ามหัวไม้สัมผัสกับทรายในบังเกอร์ แม้แต่ในระหว่างการซ้อมสวิงก่อนตีช็อตก็ตาม ในกรณีที่สัมผัสโดนทรายจะถูกมองว่า จงใจทดสอบสภาพของบังเกอร์นั่นเอง
จริงๆแล้วกรณีของบังเกอร์ใจไม่มีปัญหาใดๆหากผู้เล่นทำการตีตามปกติ แต่ก็สามารถรับโทษปรับและรับการผ่อนปรนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากรับโทษปรับ 1 สโตรค ผู้เล่นสามารถเริ่มเล่นใหม่ได้ตั้งแต่ช็อตก่อนหน้าที่จะเข้าบังเกอร์ และเล่นต่อโดยการดรอปลูกภายใน 1 ช่วงไม้กอล์ฟโดยไม่เข้าหมุด
นอกจากนี้ หากรับโทษปรับ 2 สโตรค สามารถเริ่มต้นใหม่จากตำแหน่งภายในระยะ 1 ช่วงไม้กอล์ฟบนเส้นขยายที่เชื่อมต่อระหว่างลูกกอล์ฟกับหมุดแม้ตำแหน่งนั้นจะอยู่นอกบังเกอร์ก็ตาม

penalty area

penalty area คือ บริเวณที่มีน้ำ เช่น สระน้ำ ลำธาร บนสนามและบริเวณโดยรอบ การจัดการโดยทั่วไปของพื้นที่นี้คือ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าจะหาลูกกอล์ฟไม่พบก็ยังสามารถรับการผ่อนปรนได้โดยการรับโทษปรับ 1 สโตรค โดยอาศัยหลักฐานเช่น เสียง เป็นต้น หากไม่มีหลักฐานหรือเบาะแสใดๆและหาลูกกอล์ฟไม่พบภายใน 3 นาที ก็สามารถรับโทษปรับ 1 สโตรคและกลับไปเล่นใหม่จากตำแหน่งก่อนหน้าได้ ในกรณีที่หาลูกกอล์ฟพบ หากอยู่ใน penalty area แม้เพียงเล็กน้อย ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะตีจากตำแหน่งที่พบลูกโดยไม่มีโทษปรับหรือเลือกรับการผ่อนปรนนอกเขต penalty area โดยจะมีโทษปรับ 1 สโตรค ในเขต penalty area สามารถตั้งฐานของหัวไม้ลงบนหน้าดินหรือน้ำได้ และไม่มีปัญหาหากฐานของหัวไม้จะสัมผัสกับหน้าดินในระหว่างที่ทำการซ้อมสวิง นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนได้ได้อีกด้วย
ที่จริงแล้ว penalty area แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ yellow penalty area และ red penalty area ในแต่ละพื้นที่หลังจากที่ได้รับโทษปรับ 1 สโตรคแล้วประเภทของตัวเลือกการจัดการจะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบสีของพื้นที่ให้ดี ตัวอย่างเช่น ในเขต yellow penalty area ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะกลับไปยังจุดสุดท้ายที่เล่น หรือกลับไปจุดผ่อนปรนบนเส้นด้านหลัง และในกรณีของ red penalty area จะมีตัวเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจากนั้นคือ สามารถเลือกการผ่อนปรนด้านข้างได้

general area

general area คือ พื้นที่ตรงกลางตั้งแต่แท่นตั้งทีไปจนถึงกรีนซึ่งกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของหลุม กฎของ general area คือ อย่างแรกหากลูกกอล์ฟหยุดบนทางวิ่งรถกอล์ฟหรือจุดยืนอยู่บนทางวิ่งรถกอล์ฟ สามารถเคลื่อนย้ายลูกกอล์ฟได้โดยไม่มีโทษปรับ ทำการผ่อนปรนโดยกำหนดจุดที่ใกล้ที่สุดภายในระยะ 1 ไม้กอล์ฟ แล้วดรอปลูกเพื่อเล่นต่อ
กฎข้อที่ 2 คือ หากลูกกอล์ฟที่ดรอปสัมผัสโดนเท้า การกระทำนี้ไม่มีโทษปรับจึงสามารถเล่นต่อไปได้ แต่หากเป็นการดรอปนอกพื้นที่ผ่อนปรนจะต้องทำการดรอปใหม่ แต่ถ้าหากเล่นไปทั้งอย่างนั้นจะได้รับโทษปรับ 2 สโตรค ดังนั้นโปรดใช้ความระมัดระวัง
กฎข้อที่ 4 คือ หากผู้เล่นต้องการเปลี่ยนลูกกอล์ฟที่แตกเป็นลูกอื่น ให้ทำการแจ้งผู้เข้าร่วมการแข่งขันอื่นให้ทราบและเมื่อได้รับความยินยอมแล้วจะสามารถเปลี่ยนได้โดยไม่มีการลงโทษ แต่หากทำการเปลี่ยนโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันอื่นทราบจะมีโทษปรับ 1 สโตรค
กฎข้อที่ 4 คือ หากผู้เล่นเตะลูกกอล์ฟของตนเองในขณะที่อยู่ในรัฟโดยไม่ทันได้สังเกต สามารถนำลูกกอล์ฟกลับมาวางยังตำแหน่งเดิมได้โดยไม่มีโทษปรับ แต่หากลูกกอล์ฟนั้นเป็นของคนอื่นก็ให้นำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมและไม่มีโทษปรับ

สรุปในครั้งนี้

ในบทความนี้ได้นำเสนอกฎแบบง่ายๆของแต่ละพื้นที่ไปแล้ว พอจะเป็นประโยชน์บ้างหรือไม่? เมื่อออกรอบในสนามมักต้องไปพร้อมกับคนอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้เล่นอย่างสนุกสนานได้จนจบรอบการเข้าใจกฎขั้นพื้นฐานของผู้เล่นทุกคนจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณกังวลว่าจะจำกฎไม่ได้ ก็สามารถนำหนังสือกฎติดตัวไปที่สนามได้ ดังนั้นอย่ากังวลมากจนเกินไป
ในครั้งนี้ได้แนะนำกฎขึ้นพื้นฐานที่ควรทราบไปแล้ว แต่หากคุณต้องการสนุกกับการเล่นกอล์ฟเชิงลึกให้มากขึ้น ให้ลองตรวจสอบกฎอื่นๆด้วย เมื่อเริ่มเข้าใจกฎมากขึ้นก็จะดูกอล์ฟได้สนุกมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง:กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.1~กฎเกี่ยวกับการจัดการข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.2~กฎเกี่ยวกับอุปกรณ์~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form