ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

ฝึกจิตใจในการเล่นกอล์ฟด้วยวิธีที่โปรใช้ปฏิบัติจริง

ฝึกจิตใจในการเล่นกอล์ฟด้วยวิธีที่โปรใช้ปฏิบัติจริง

คอลัมน์

2023.06.29

กอล์ฟเป็นการแข่งขันที่การฝึกจิตใจมีความสำคัญมากเมื่อเปรียบเทียบกับกีฬาชนิดอื่น การฝึกจิตใจสามารถช่วยให้คะแนนดีขึ้นได้อย่างมาก ดังนั้นในคอลัมน์นี้จะมาแนะนำวิธีการที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการฝึกจิตใจในการเล่นกอล์ฟ ให้ผู้ที่กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับคะแนนได้นำไปใช้อ้างอิง

【สารบัญ】
1.เหตุผลที่การฝึกจิตใจมีความสำคัญต่อการเล่นกอล์ฟ
2.10 วิธีในการมุ่งสู่คะแนนต่ำกว่า 100 ด้วยการฝึกจิตใจ
3.【วิธีฝึกจิตใจแบบโปร①】ไทเกอร์ วูดส์
4.【วิธีฝึกจิตใจแบบโปร②】นิค ฟิลโด้
5.สรุปในครั้งนี้

เหตุผลที่การฝึกจิตใจมีความสำคัญต่อการเล่นกอล์ฟ

ถ้าจะให้พูดถึงเหตุผลที่การจิตใจมีความสำคัญต่อการเล่นกอล์ฟก็คงจะเป็นเพราะว่า กอล์ฟเป็นกีฬาที่สภาพจิตใจจะส่งผลอย่างมากต่อคะแนน
สภาพจิตใจเชิงลบจะทำให้การทำคะแนนในการเล่นทำได้ยาก ในทางกลับกันเมื่อเข้าสู่สมาธิขั้นสูง (zone) ได้แล้วก็มีโอกาสที่ความตึงเครียดจะผ่อนคลายและคะแนนดีขึ้น หากตื่นเต้นมากเกินไปจะทำให้ไม่สามารถตีลูกไปตามที่คิดไว้ได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือคุ ณจะสามารถเล่นกอล์ฟด้วยสภาพจิตใจที่ดีได้อย่างไร

10 วิธีในการมุ่งสู่คะแนนต่ำกว่า 100 ด้วยการฝึกจิตใจ

ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการฝึกจิตใจอย่างเป็นรูปธรรม 10 ข้อ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปปฎิบัติจริง หากใช้วิธีการที่จะแนะนำดังต่อไปนี้ให้เป็นประโยชน์คะแนนต่ำกว่า 100 ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป

คำนึงถึงรูทีน (routine)

ข้อแรกคือการคำนึงถึงรูทีน รูทีนหมายถึง การทำสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วแบบเดิมซ้ำๆ ตัวอย่างเช่น หายใจเข้าลึกๆหรือทำการซ้อมสวิงทุกครั้งก่อนสวิง เป็นต้น การมีรูทีนจะช่วยให้สามารถรักษาสภาพจิตใจให้คงที่ได้อย่างสม่ำเสมอ ในความเป็นจริงโปรกอล์ฟหลายคนก็นำรูทีนมาใช้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยให้คุณลองสังเกตการเคลื่อนไหวของโปรกอล์ฟก่อนตีช็อตทางโทรศัพท์ดู

นั่งสมาธิและฝึกการทำสมาธิ

ข้อที่สองคือ การนั่งสมาธิและฝึกการทำสมาธิ
ผู้ที่ต้องการปรับปรุงคะแนน แนะนำให้นำการนั่งสมาธิมาใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อนั่งสมาธิจะทำให้มีสมาธิสูงขึ้น ไม่ใช่แค่สามารถผ่อนคลายได้เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การลดความเครียดได้ด้วย ผู้ที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อเป็นเวลานานได้ควรลองนั่งสมาธิดู

อย่าเป็นคนที่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ

ข้อที่สามคือ การไม่เป็นคนที่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ
การยึดติดกับความสมบูรณ์แบบอาจส่งผลเสียต่อการเล่นกอล์ฟได้ สภาพจิตใจที่คิดว่า จะต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น จะเพิ่มความตึงเครียดและมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาด การเปิดใจยอมรับความผิดพลาดโดยเริ่มจากการฝึกฝนเป็นประจำ จะทำให้สามารถกลับมามีทัศนคติเชิงบวกได้แม้ว่าจะตีช็อตออกมาได้ไม่ดีก็ตาม

ทำการฝึกจินตนาการภาพ

ข้อที่สี่คือ การฝึกจินตนาการภาพ
ก่อนวันออกรอบให้ทำการจำลองชุดการเคลื่อนไหวในสมอง เลย์เอาท์ของสนามมีให้ดูบนเว็บไซต์ ดังนั้นการจินตนาการภาพในสมองว่าจะทำการโจมตีสนามนั้นได้อย่างไรจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวางรูปแบบไว้ในหัวจะช่วยให้คุณสามารถเผชิญหน้าด้วยทัศนคติเชิงบวกได้เมื่อลงเล่นจริงได้

เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของหัวข้อที่ต้องแก้ไขอย่างแท้จริงด้วยการจดบันทึก

ข้อที่ห้าคือ การเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของหัวข้อที่ต้องแก้ไขอย่างแท้จริงด้วยการจดบันทึก
การจดบันทึกไปพร้อมๆกับทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของหัวข้อที่ต้องแก้ไขเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณเข้าใจว่าสไตล์การเล่นของตนเองมีจุดใดที่ต้องแก้ไขและเคลียร์ปัญหาเหล่านั้นได้ก็จะรู้สึกดีขึ้น แม้ว่าคะแนนจะไม่พัฒนาขึ้น แต่ถ้าคุณรู้สึกได้ถึงการพัฒนาแล้ว การเล่นกอล์ฟก็จะสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้

กำหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับความสามารถที่แท้จริง

ข้อที่หกคือ การกำหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับความสามารถที่แท้จริง
การกำหนดเป็าหมายเป็นเรื่องที่ดี แต่ค่าเป้าหมายที่สูงกว่าความสามารถที่แท้จริงอาจกลายเป็นเหมือนการบีบคอตัวเอง เมื่อตั้งเป้าหมายเกินความสามารถที่แท้จริงจะทำให้ความกดดันเพิ่มมากขึ้น และไม่สามารถเล่นได้ตามที่คิดไว้ ดังนั้นผู้ที่ทำคะแนนได้ไม่ถึง 100 อันดับแรกให้ลองตั้งเป้าหมายไปให้ถึง 105 ดูก่อน

ไม่พูดแก้ตัวแม้จะทำพลาด

ข้อที่เจ็ดคือ การไม่พูดแก้ตัวแม้จะทำพลาด
ทันทีที่ทำพลาดคนเรามักหลุดพูดคำแก้ตัวออกมาโดยธรรมชาติ แต่นั่นจะส่งผลเสียต่อการเล่น ทันทีที่ทำพลาดแนะนำให้จดบันทึกลงโน้ตหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจแล้วว่านี่คือหัวข้อที่ต้องแก้ไขของตนเอง นอกจากนี้การพูดแก้ตัวก่อนเริ่มเล่นก็อาจส่งผลเสียต่อคะแนนเช่นกัน เนื่องจากเป็นการเพิ่มความคิดด้านลบให้กับตนเอง

ให้คิดว่าจะตีลงหลุมได้ใน 2 พัตต์

ข้อที่แปดคือ ให้คิดว่าจะตีลงหลุมได้ใน 2 พัตต์
ว่ากันว่าการพัตต์คือสิ่งที่รู้สึกกดดันมากที่สุด พัตต์เป็นจุดที่สำคัญมากเนื่องจากมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับคะแนนกอล์ฟ เคล็ดลับในการพัตต์คือ ต้องไม่พยายามตีให้ลงหลุมภายในครั้งเดียว ให้คุณคิดไว้ว่าจะพยายามตีให้ลงหลุมภายใน 2 พัตต์ หากเป้าหมายของคุณคือคะแนนต่ำกว่า 100 การพัตต์ 2 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้ว หากคุณโฟกัสว่าต้องตีให้ลงภายใน 1 พัตต์มากจนเกินไป ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความกดดันได้

สมมติว่าเป็นการออกรอบจริง

ข้อที่เก้าคือ การฝึกซ้อมโดยสมมติว่าเป็นการออกรอบจริง
หากคุณฝึกซ้อมด้วยการไดร์ฟให้ลองฝึกซ้อมโดยจินตนาการภาพไปพร้อมๆกันว่านี่คือการออกรอบจริง ขั้นแรกให้ใช้ไดรเวอร์ (driver) โดยให้ตีด้วยความรู้สึกที่เหมือนกับว่ากำลังเล่นทีช็อต (tee shot) ต่อไปให้ใช้ไม้ยูทิลิตี้ (utility) ด้วยความรู้สึกของการตีช็อตที่ 2 (second shot) ด้วยการฝึกซ้อมเช่นนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดีในการฝึกจินตนาการภาพ ไม่ใช่แค่มุ่งเน้นไปที่การตีลูกเพียงเท่านั้น แต่การสมมติการออกรอบจริงยังช่วยปรับปรุงคะแนนของคุณให้ดีขึ้นได้

ไม่ยึดติดกับคะแนน

ข้อที่สิบคือ การไม่ยึดติดกับคะแนน
การนึกถึงเรื่องคะแนนมากเกินไปอาจทำให้สติในการสวิงที่มีความสำคัญฟุ้งซ่านได้ ก่อนอื่นให้ลืมเรื่องคะแนนไปก่อนและฝึกซ้อมจนสามารถตีลูกไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้ เมื่อพึ่งเริ่มฝึกแนะนำให้ขอให้คนที่ไปออกรอบด้วยจดคะแนนให้ เพื่อที่คุณจะได้โฟกัสกับช็อตของตนเองได้อย่างเต็มที่

【วิธีฝึกจิตใจแบบโปร①】ไทเกอร์ วูดส์

ต่อไปนี้จะมาแนะนำการฝึกจิตใจที่โปรกอล์ฟที่มีชื่อเสียงใช้กันจริงๆ อันดับแรกคือวิธีการของไทเกอร์ วูดส์ ลักษณะพิเศษของไทเกอร์ วูดส์คือ เขาจะรักษาทัศนคติเชิงบวกอยู่เสมอในระหว่างเล่น และพยายามไม่จินตนาการถึงภาพที่ตนเองทำผิดพลาด เขาจะให้ความสำคัญกับความคิดเชิงบอกอยู่เสมอและพยายามไม่ให้มีความคิดในเชิงลบเช่น วันนี้ต้องไม่พลาดในการเล่นพัตเตอร์ (putter) สนามนี้โจมตีได้ชิวๆแน่นอน หรือวันนี้ร่างการอยู่ในสภาพดีมากเลย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนักกอล์ฟที่สร้างผลงานด้วยวิธีการที่สวนทางกับไทเกอร์ วูดส์นั่นก็คือ ซากุระ โยโคมิเนะ ซากุระ โยโคมิเนะเริ่มต้นด้วยการยอมรับและตระหนักถึงความอ่อนไหวทางจิตใจของตนเองและคิดว่าคนที่มีจิตใจอ่อนไหวเช่นตัวเธอเองก็สามารถรับมือกับการเล่นได้เช่นกัน และนี่คือวิธีการกำจัดความกดดัน หากเล่นในสภาพที่ยอมรับด้านลบของจิตใจของตนเองได้ ความประหม่าก็จะลดน้อยลงและสามารถเล่นได้ตามที่ฝึกไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ

【วิธีฝึกจิตใจแบบโปร②】นิค ฟิลโด้

ต่อไปที่จะแนะนำคือ วิธีการในแบบของ นิค ฟิลโด้
ลักษณะเฉพาะของนิค ฟิลโด้ก็คือ การคำนึงถึงการเปลี่ยนความรู้สึกในทันทีแม้ว่าจะทำพลาด เขาจะลืมการเล่นที่ทำพลาดในทันทีและหันไปให้ความสนใจกับช็อตต่อไปเรื่อยๆ หากยึดติดอยู่กับความผิดพลาด ก็มีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบกับช็อตต่อไป ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีสติในการเปลี่ยนสภาพจิตใจของตนเอง แต่การเปลี่ยนให้ได้อย่างราบรื่นนั้นทำได้ยาก ดังนั้นให้ลองนำการควบคุมจิตใจมาใช้ตั้งแต่การฝึกซ้อมปกติ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้เมื่อลงเล่นจริงและการทำอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแน่นอน

สรุปในครั้งนี้

ในคอลัมน์นี้ได้นำเสนอวิธีการฝึกจิตใจในการเล่นกอล์ฟไปแล้ว พอจะมีประโยชน์กับทุกท่านบ้างหรือไม่?
ในการออกรอบแม้แต่โปรกอล์ฟเองก็มีความประหม่าเช่นกัน ในการแข่งขันเพื่อแสดงความสามารถที่แท้จริงออกมาให้ได้ตามปกติ โปรกอล์ฟยังนำการฝึกจิตใจแบบต่างๆที่มีอยู่หลากหลายมาใช้ด้วย
ว่ากันว่าความสามารถในการเล่นกอล์ฟไม่ใช่แค่เทคนิคเท่านั้น แต่สภาพจิตใจก็มีความสำคัญเช่นกัน และเพื่อให้คะแนนเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องฝึกจิตใจให้มีความแข็งแกร่ง
มาทำการฝึกโดยนำวิธีการที่ได้แนะนำไปในครั้งนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์และฝึกซ้อมอย่างเข้มงวดเพื่อให้สามารถเล่นในสนามจริงได้โดยไม่ประหม่ากันเถอะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】นักกอล์ฟหญิงที่ดูสนุกสนานครื้นเครงและการวิเคราะห์ 4 เสน่ห์ของกีฬากอล์ฟแบบเจาะลึก
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】กอล์ฟที่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้สูงอายุ เริ่มเล่นกอล์ฟและมีสุขภาพที่แข็งแรงเมื่อเข้าสู่วัยชรา!

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form