ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.1~กฎเกี่ยวกับการจัดการข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย~

กฎของกอล์ฟที่แม้แต่มือใหม่ก็เข้าใจได้Vol.1~กฎเกี่ยวกับการจัดการข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย~

คอลัมน์

2023.12.07

ในกีฬากอล์ฟหากผู้เล่นไม่สามารถเล่นต่อได้ตามปกติจะมีกฎในการรับการผ่อนปรนกำหนดไว้ แต่หากใช้กฎนั้นอย่างไม่ถูกต้องก็มีโอกาสที่จะได้รับโทษปรับเพิ่ม และเนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขกฎการเล่นครั้งใหญ่ในปี 2019 มีหลายกรณีที่แม้แต่โปรมืออาชีพเองก็ทำผิดอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องรู้วิธีการจัดการเมื่อเกิดความผิดพลาด ในบทความนี้จะแนะนำวิธีการจัดการกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการเล่นกอล์ฟ ให้สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มเล่นกอล์ฟหรือผู้ที่ต้องการตรวจสอบกฎการเล่นให้แน่ใจอีกครั้งได้นำไปใช้อ้างอิง

【สารบัญ】
1.กรณีที่ดรอปลูกจากความสูงระดับไหล่
2.กรณีที่นำลูกกอล์ฟที่ถูกลมพัดไปกลับมาที่ตำแหน่งเดิม
3.กรณีที่ลูกกอล์ฟเด้งกลับมาโดนเท้าและหยุดเมื่ออยู่ในบังเกอร์
4.กรณีที่ลูกกอล์ฟขยับเนื่องจากผู้เล่นย้ายก้อนกรวด合
5.กรณีที่ลูกกอล์ฟอยู่บน collar ของ sub green
6.การติดตะกั่วที่ไดรเวอร์ถือว่าผิดกฎหรือไม่
7.สรุปในครั้งนี้

กรณีที่ดรอปลูกจากความสูงระดับไหล่

ในสนามหากผู้เล่นไม่สามารถตีต่อไปได้เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางเช่น รถกอล์ฟ ในกรณีนี้ผู้เล่นสามารถทำการดรอปลูกบนพื้นที่ผ่อนปรนได้ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ผ่อนปรนสามารถทำซ้ำใหม่ได้โดยไม่มีบทลงโทษ ตัวอย่างเช่น หากผู้เล่นทำการดรอปลูกจากความสูงระดับหัวไหล่ซึ่งเป็นวิธีแบบเก่า แทนที่จะเป็นระดับเข่า ในกรณีนี้จะไม่มีบทลงโทษใดๆ หากทำการดรอปลูกใหม่อีกครั้งก่อนทำการตี แต่หากทำการตีโดยไม่ดรอปลูกใหม่จะถูกเพิ่มโทษปรับ 1 สโตรค
นอกจากวิธีการดรอปลูกแล้ว หากตีลูกที่ออกไปนอกพื้นผ่อนปรนจะถูกปรับเพิ่ม 2 สโตรค ความผิดพลาดในการดรอปลูกจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เล่นไม่ระมัดระวังเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องคอยระมัดระวังให้กันและกันในหมู่ผู้เล่นให้ดี

กรณีที่นำลูกกอล์ฟที่ถูกลมพัดไปกลับมาที่ตำแหน่งเดิม

กีฬากอล์ฟที่ทำการเล่นกลางแจ้ง ในวันที่มีลมแรงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกกอล์ฟจะถูกทำให้เคลื่อนที่ด้วยลม จากการแก้ไขกฎการเล่นครั้งใหญ่ในปี 2019 หากลูกกอล์ฟเคลื่อนที่เนื่องจากลมฝนตามธรรมชาติ ในกรณีที่ไม่ได้เล่นบนกรีน ผู้เล่นสามารถเล่นต่อไปได้โดยไม่มีโทษปรับ หากผู้เล่นเป็นผู้ทำการเคลื่อนย้ายลูกกอล์ฟ โดยหลักเกณฑ์แล้วจะต้องนำกลับไปวางคืนที่ตำแหน่งเดิมและได้รับโทษปรับ 1 สโตรค
แต่การเล่นบนกรีนจะมีความพิเศษกว่าก็คือ จะไม่มีบทลงโทษในกรณีที่ผู้เล่นทำการเคลื่อนย้ายลูกกอล์ฟ เพียงแค่นำกลับไปคืนที่ตำแหน่งเดิมก็จะถือว่าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ในการซ้อมสวิงแม้ว่าหัวไม้จะไปกระทบโดนหรือที่ครอบพัตเตอร์ตกลงไปโดนก็จะไม่มีโทษปรับ
จนถึงตอนนี้อาจง่ายต่อการตีความ แต่ก็ยังมีตัวอย่างนอกเหนือจากนั้นเช่น แม้ว่าคุณจะทำการมาร์กเอาไว้แล้ว แต่หากทำการมาร์กก่อนหน้าที่จะหยิบลูกขึ้นมา ก็ยังสามารถเล่นต่อจากจุดที่ลูกกอล์ฟเคลื่อนที่ไปได้
นอกจากนี้ เมื่อทำการมาร์กลูกกอล์ฟหากลูกกอล์ฟเคลื่อนที่จากการที่มาร์กเกอร์หรือนิ้วไปโดน ให้นำกลับไปไว้ยังตำแหน่งเดิมก็จะไม่มีโทษปรับ ในกรณีนี้แม้ว่าผู้เล่นคนอื่นจะมองดูอยู่แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่เข้าใจ ดังนั้นการพิจารณาโดยละเอียดจึงจะขึ้นอยู่กับการรายงานด้วยตัวเองของผู้เล่นคนนั้น

กรณีที่ลูกกอล์ฟเด้งกลับมาโดนเท้าและหยุดเมื่ออยู่ในบังเกอร์

กรณีที่ลูกกอล์ฟกระทบกับสิ่งกีดขวางและเด้งกลับมากระทบกับร่างกายของผู้เล่นแล้วหยุดหลังจากนั้น กฎการเล่นจนถึงปี 2018 กำหนดไว้ว่าจะมีโทษปรับ 1 สโตรค แต่กฎในปัจจุบันไม่มีบทลงโทษแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มักเกิดขึ้นในบังเกอร์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพยายามตีให้สูงเลยคาง ลูกกอล์ฟจะเด้งจากกำแพงมาบริเวณเท้าของผู้เล่นจนเกือบจะโดนกับรองเท้า
ในกรณีที่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นวิธีการจัดการจะมีอยู่หลักๆ 3 วิธี
อย่างแรกคือ หากลูกกอล์ฟกระทบกับเท้าของผู้เล่นที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เพราะพยายามหลบ ผู้เล่นสามารถเล่นต่อจากจุดที่ลูกกอล์ฟหยุดต่อไปได้โดยไม่มีบทลงโทษ
วิธีที่ 2 คือ หากลูกกอล์ฟเด้งกลับมาโดนในลักษณะที่เท้าอยู่ในท่ายืนผู้เล่นจะสามารถเล่นต่อได้โดยไม่มีโทษปรับ หากขยับเท้าแล้วลูกกอล์ฟไม่เคลื่อนที่ แต่โดยส่วนมากแล้วลูกกอล์ฟมักจะเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม อันที่จริงหากเล่นต่อไปทั้งอย่างนั้นจะถูกปรับเพิ่ม 2 สโตรค ดังนั้นการนำลูกกอล์ฟกลับไปวางยังตำแหน่งที่สัมผัสกับรองเท้าจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
และวิธีที่ 3 คือ เมื่อลูกกอล์ฟตกลงบนรองเท้าที่ฝังอยู่ในทราย ในกรณีนี้การเล่นสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีโทษปรับ โดยการดรอปลูกลงบนพื้นที่ผ่อนปรน โดยใช้ตำแหน่งด้านล่างที่ลูกกอล์ฟตกลงมาในตอนแรกเป็นหลัก

กรณีที่ลูกกอล์ฟขยับเนื่องจากผู้เล่นย้ายก้อนกรวด

กฎใหม่ในปัจจุบันอนุญาตให้นำวัตถุธรรมชาติออกได้ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ penalty area หรือบังเกอร์โดยไม่มีโทษปรับ เนื่องจากหากบังเกอร์ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมและมีก้อนกรวดปะปนอยู่ ก็อาจทำให้ไม้กอล์ฟเกิดความเสียหายหรือเกิดการบาดเจ็บที่ไม่คาดคิดได้
ในอดีตตามกฎท้องถิ่นมีบางกรณีที่สามารถนำสิ่งเหล่านี้ออกไปได้โดยไม่มีโทษปรับ โดยจะถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้ แต่ในกฎที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกฎได้เปลี่ยนไปโดยระบุว่าสามารถนำวัตถุธรรมชาติออกได้โดยไม่มีโทษปรับ จึงไม่ถือว่าวัตถุนั้นเป็นสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้อีกต่อไป เมื่อมองเผินๆอาจดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาอะไรเพราะสามารถนำออกมาได้โดยไม่มีโทษปรับ แต่หากทำการเคลื่อนย้ายก้อนกรวดเหล่านั้นแล้วทำให้ลูกกอล์ฟขยับก็จะมีโทษปรับ 1 สโตรค ในจุดนี้จึงมีความแตกต่างกับสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้อย่างมาก
ในกรณีที่ลูกกอล์ฟติดก้อนกรวดก่อนที่จะนำก้อนกรวดออกให้ลองพิจารณาลูกเล่นไม่ได้ก่อน
ลูกเล่นไม่ได้หรือ unplayable คือการประกาศว่าลูกกอล์ฟไม่สามารถเล่นต่อไปได้ เมื่อประกาศลูกเล่นไม่ได้จะมีโทษปรับ 1 สโตรค แต่จะสามารถดรอปลูกได้ภายใน 1 ช่วงไม้กอล์ฟจากตำแหน่งที่ลูกหยุดและจะต้องไม่ใช่ตำแหน่งที่ใกล้เข้าหาหลุม

กรณีที่ลูกกอล์ฟอยู่บน collar ของ sub green

ในบรรดากฎการเล่นแบบใหม่จุดนี้เป็นจุดที่เกิดช่องโหว่ได้ง่ายเป็นพิเศษในกฎการเล่นก่อนหน้านี้กำหนดไว้ว่า ห้ามเล่นลูกกอล์ฟที่หยุดอยู่บน sub green และต้องทำการดรอปลูกนอกพื้นที่กรีนหลังจากได้รับการผ่อนปรนโดยไม่มีโทษปรับ ในกฎการเล่นแบบใหม่ sub green ถือว่าเป็น general area แต่เป็นพื้นที่ห้ามเล่น มองดูเผินๆอาจดูเหมือนว่าไม่มีความแตกต่าง แต่กฎใหม่ระบุว่าห้ามเล่นแม้จะเป็นเพียงการยืนบน sub green ก็ไม่สามารถทำได้
กฎก่อนหน้านี้การยืนบน sub green นั้นได้รับการอนุญาตแต่ในกฎปัจจุบันถูกห้ามโดยเด็ดขาด ในกรณีที่เล่นต่อทั้งอย่างนั้นผู้เล่นจะได้รับโทษปรับ 2 สโตรค โดยไม่จำเป็นต้องเล่นใหม่ แต่ที่ถูกต้องก็คือ การตัดสินใจเลือกรับการผ่อนปรนเพื่อหลีกเลี่ยงการยืนบน sub green และสามารถเล่นต่อไปได้โดยการดรอปลูกภายใน 1 ช่วงไม้กอล์ฟโดยไม่มีโทษปรับ
แนวคิดที่ว่าห้ามเล่นเมื่อมองจากมุมมองของการรักษากรีนสามารถยอมรับได้หากลูกกอล์ฟอยู่บน sub green แต่ปัญหาคือ กฎใหม่ค่อนข้างล้าหลัง เนื่องจากไม่ชัดเจนว่าการตั้งท่ายืนเมื่อจะตีลูกกอล์ฟที่อยู่บน collar มีปัญหามากน้อยเพียงใด

การติดตะกั่วที่ไดรเวอร์ถือว่าผิดกฎหรือไม่

จากการปรับปรุงแก้ไขกฎครั้งใหญ่ในปี 2019 ข้อบังคับเกี่ยวกับอุปกรณ์ก็เปลี่ยนไปอย่างมากเช่นกัน เนื่องจากยังไม่ได้มีการเผยแพร่เป็นสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่น จึงไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
กฎใหม่ในปัจจุบัน สามารถดูคำแปลที่เป็นภาษาญี่ปุ่นได้ในเว็บไซต์ของสมาคมกอล์ฟญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงกฎเกี่ยวกับอุปกรณ์ มักถูกมองว่าไม่มีปัญหาหากเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายใหญ่ที่เชื่อถือได้ แตก็ไม่สามารถพูดได้ว่าจะเป็นเช่นนั้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างเช่น การติดตะกั่วที่ไดรเวอร์ ตามกฎก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหาหากติดตะกั่วที่ใช้สำหรับปรับน้ำหนักหรือบาลานซ์ด้วยเทปในส่วนที่ไม่ใช่หน้าไม้ แต่ในกฎใหม่ น้ำหนักของวัตถุหนักที่ยึดด้วยสกรูและการเปลี่ยนแปลงของโมเมนต์ความเฉื่อยเนื่องจากการจัดวางจะต้องเป็นไปตามกฎด้วย
ไดรเวอร์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสเปคที่เกือบจะเกินกำหนด ดังนั้นแม้แต่ตะกั่วเพียงแผนเดียวก็อาจเกินข้อกำหนดที่ระบุเอาไว้ได้ อาจไม่มีปัญหาในไม้กอล์ฟชนิดอื่นๆ แต่ก็ควรระมัดระวังในการติดแผ่นตะกั่วที่ไดรเวอร์ไม่ให้มากจนเกินไป

สรุปในครั้งนี้

ในครั้งนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิธีการจัดการเมื่อเกิดความผิดพลาดในสนามกอล์ฟไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2019 ดังนั้นโปรดใช้ความระมัดระวังหากคุณรู้เพียงแบบกฎเดิม
มาใช้โอกาสนี้เพื่อตรวจสอบกฎในการเล่นอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเพิ่มบทลงโทษเนื่องจากละเมิดกฎโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากกอล์ฟถูกมองว่าเป็นกีฬาของสุภาพบุรุษ การปฏิบัติตามกฎเป็นสิ่งสำคัญมาก ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎและออกรอบด้วยความสบายใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง:เพจรวบรวมคำศัพท์กอล์ฟ
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:9 จุดสำคัญเมื่อตีช็อตบังเกอร์ 1

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form