ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า2~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า2~

คอลัมน์

2023.02.13

การสวิงกอล์ฟอาจดูเรียบง่าย แต่เป็นการเล่นที่มีความซับซ้อน หากไม่รู้ถึงเคล็ดลับ ก็อาจเป็นการฝืนและเสียแรงเปล่า การสวิงด้วยฟอร์มที่ไม่เหมาะสมจะลดคุณภาพของการเล่น และจะนำไปสู่ผลเสียต่างๆเช่น ติดนิสัยในการเล่นที่ไม่ดีและการทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ
ดังนั้นในครั้งนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับการสวิงที่ถูกต้องในหัวข้อวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย เช่น การขึ้นไม้ (take back) การแบ็คสวิง (back swing) และการดาวน์สวิง (down swing) เป็นต้น

【สารบัญ】
1.ขึ้นไม้ (take back) ด้วยท้องและหลังไม่ใช่แขน (ความมั่นคงของสวิง)
2.ในการแบ็คสวิง (back swing) ให้หันหน้าอกไปทางขวาแทนการหมุนไหล่ (วิธีสร้างพลังงาน)
3.วิธีการสร้าง “มุมของข้อมือ (lag)” เมื่อดาวน์สวิงในอุดมคติ
4.สรุปในครั้งนี้

ขึ้นไม้ (take back) ด้วยท้องและหลังไม่ใช่แขน (ความมั่นคงของสวิง)

เหตุผลที่ไม่ควร「ยกแค่แขน」

หากท่าทางการตั้งท่า (address) ถูกต้อง และการแบ็คสวิงไม่เพี้ยนไปจากระนาบสวิง สวิงนั้นก็ก็ประสบความสำเร็จไปแล้ว 90%
หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คิดว่าความสำเร็จหรือล้มเหลวของการสวิงโดยส่วนใหญ่ถูกกำหนดด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายตั้งแต่การขึ้นไม้ไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิง
แต่มือสมัครเล่นหลายคนมักทำผิดในขั้นตอนของการขึ้นไม้ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการแบ็คสวิง ความผิดพลาดคือการยกไม้กอล์ฟขึ้นโดยใช้มือ
หากใช้มือในการยกไม้ขึ้น คุณจะไม่รู้ว่าไม้กอล์ฟขึ้นไปยังจุดไหน เนื่องจากมือมีความคล่องแคล่ว จึงสามารถยกไม้กอล์ฟทั้ง inside และ outside ได้อย่างอิสระ ยิ่งไปกว่านั้น หากใช้มือจะสามารถเหวี่ยงไม้กอล์ฟให้กว้างและแรงแค่ไหนก็ได้
ผลที่ได้รับก็คือ เกิดการโอเวอร์สวิง (over swing) อย่างสุดขั้ว
ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน คุณก็จะไม่สามารถทำระนาบสวิงได้และจะไม่รู้ว่าลูกจะลอยไปทางไหน
การขึ้นไม้ ควรใช้การถ่ายโอนน้ำหนักเป็นตัวกระตุ้นและทำโดยการใช้กล้ามเนื้อท้องและหลัง ไม่ใช่มือ
อาจเป็นการพูดเรื่องเดิมซ้ำ แต่สิ่งสำคัญคือต้องรักษาแขนและมือให้อยู่ในมุมเดียวกับข้อมือ และผ่อนคลายแรงนอกเหนือจากนั้นให้หมด และถึงกริพจะหลวมๆก็ไม่มีปัญหาอะไร

วิธีการสร้าง “จุดสูงสุดที่ตีได้ (top of swing)”

เมื่อบิดร่างกายส่วนบนไปทางขวาโดยใช้กระดูกสันหลังเป็นแกน กล้ามเนื้อหลังด้านซ้ายจะยืดออกและในขณะเดียวกันคุณจะพบว่า กล้ามเนื้อด้านในต้นขาขวา (adductor muscle) และกล้ามเนื้อหน้าแข้ง (tibialis anterior muscle) จะรับน้ำหนักค่อนข้างมาก
ระหว่างสวิงกล้ามเนื้อจะรับน้ำหนักมากที่สุดแค่ชั่วพริบตาเดียวตั้งแต่การขึ้นไม้ไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิง ในจุดนี้หากด้านขวามีความแข็งแรงไม่พอก็อาจทำให้แกนลำตัวโยกไปทางสะโพกขวา (sway) มุมเข่าขวายืดออกและร่างกายส่วนบนยืดกลับได้ จึงทำให้สวิงนั้นไม่ได้ผล อีกทั้งแขนและข้อมือจะยกขึ้นในแนวทะแยงมุมไปทางขวา (ในทิศทางของหัวแม่มือซ้าย) ตั้งแต่ตำแหน่งของการตั้งท่าไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิงโดยมีศอกขวาเป็นจุดทรงตัว (แขนยกขึ้นเอง ไม่ใช่ยกแขนขึ้น)
ระยะการเคลื่อนที่นั้นจะมีความสูงต่ำต่างกันไม่เกิน 70 เซนติเมตร แต่การเคลื่อนไหวนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับการหมุนของร่างกาย ดังนั้นคุณจะรู้สึกเหมือนกับว่ามือกำลังเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งที่คุณคิดไปเอง มือและแขนไม่ได้เคลื่อนไหวอยู่อย่างที่คุณคิด และไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เล่นที่มัก โอเวอร์สวิง (over swing) มักดีกว่าหากวางกริพในตำแหน่งของการตั้งท่าและด้วยการบิดร่างกายส่วนบนคุณจะไปถึงจุดสูงสุดของวงสวิงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางก็มีผลกับไม้กอล์ฟด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากคุณพยายามยกไม้กอล์ฟขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิงด้วยมือ ก็จะทำให้เกิดการโอเวอร์สวิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้หากมีสมาธิไม่ยกไม้กอล์ฟขึ้นด้วยมือ ไม้กอล์ฟ (กริพ) ก็จะอยู่ตรงกลางร่างกายของคุณอยู่เสมอ (ความหมายเหมือนกันกับการ「ไม่คลายมุมสามเหลี่ยมที่เกิดจากไหล่และแขนทั้งสองข้าง」)
นี่คือสิ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม้กอล์ฟไม่หลุดออกจากระนาบสวิงและเมื่อกริพมาถึงบริเวณไหล่ขวาก็เป็นอันว่าสามารถตีไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิงได้เสร็จสมบูรณ์

ในการแบ็คสวิง (back swing) ให้หันหน้าอกไปทางขวาแทนการหมุนไหล่ (วิธีสร้างพลังงาน)

สำหรับการแบ็คสวิงที่เป็นตัวกำหนดว่าสวิงจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นจะขออธิบายในมุมที่แตกต่างออกไป มักพูดกันว่า「ให้หมุนไหล่เมื่อแบ็คสวิง」แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากไหล่จะเชื่อมต่อกับแขนไปจนถึงมือ จึงมีนักกอล์ฟหลายคนหมุนมือไปด้วยเมื่อถูกบอกให้หมุนไหล่ ผลที่ได้คือ แบ็คสวิงถูกดึงเข้าไปด้านในสุดและเกิดการดันออก (push out) และเกิดลูกพุ่งต่ำและโค้งออกซ้ายทันทีได้ง่าย นักกอล์ฟที่ชื่อว่า คุณ Tsuneyuki Nakajima กล่าวว่า「แบ็คสวิงคือการหันหลังไปทางขวาเมื่อมีคนเรียกให้หยุด」มีน้อยคนที่จะหมุนไหล่เพื่อที่จะหันไปเมื่อมีคนเรียก เพราะโดยปกติแล้วเราจะหันหน้าอกไปเมื่อมีคนเรียก
การแบ็คสวิงก็เช่นเดียวกัน เหตุผลที่การ「หมุนหน้าอกไม่ใช่ไหล่」ดีกว่าก็เพราะนั่นทำให้มือและแขนอยู่ในสภาพที่มีที่ว่างในการเคลื่อนไหวน้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้หากคุณโฟกัสไปที่การหมุนหน้าอกคุณก็จะพยายามหมุนร่างกายส่วนบนทั้งหมดด้วย ดังนั้นคุณจึงต้องใช้กล้ามเนื้อท้องและหลังทำให้การบิดลึกขึ้น เมื่อการบิดลึกขึ้นพละกำลังก็จะสะสมที่ข้อต่อสะโพกขวา และเพื่อไม่ให้สูญเสียพละกำลังนั้นสิ่งสำคัญคือการจัดข้อต่อสะโพกให้เข้าที่เมื่อทำการตั้งท่าและรักษาสภาพนั้นเอาไว้จนกว่าจะถึงจุดสูงสุดของวงสวิง
จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสวิงคือการเคลื่อนไหวที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ หากวิธีการใช้กล้ามเนื้อและข้อต่อในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การขึ้นไม้ไปจนจบสวิงทำได้อย่างถูกต้อง ก็จะสามารถสร้างการเชื่อมโยงทั้งหมดได้อย่างราบรื่น หากเกิดการสะดุดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือระนาบสวิงผิดเพี้ยนก็เป็นไปได้ว่า คุณพยายามทำให้ลูกลอยมากเกินไปและใช้แรงไปอย่างเปล่าประโยชน์
ด้วยการย้ายน้ำหนักไปทางขวาและบิดลำตัวช่วงบนให้เพียงพอ พลังงานจะสะสมไปที่ข้อต่อสะโพกขวาและเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถบิดลำตัวได้แล้วจุดนั้นจะเป็นจุดสูงสุดของวงสวิง ในตอนนั้นหน้าอกของคุณจะหันไปทางขวาสุดและกริพจะอยู่ในระดับเดียวกันกับไหล่ขวา ลักษณะของการหมุนกลับจะเริ่มตั้งแต่ร่างกายส่วนล่าง สามารถทำได้โดยการ เหยียบเท้าซ้ายให้เต็มแรง หรือ เตะพื้นด้วยเท้าขวาแล้วดันสะโพกขวาไปทางซ้าย จุดสำคัญในขณะนั้นคือในขั้นตอนการหมุนกลับร่างกายส่วนบนจะยังคงพยายามหมุนไปทางขวา เนื่องจากแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง หรือกล่าวอักนัยหนึ่งคือในขณะหมุนกลับร่างกายส่วนล่างจะพยายามหมุนไปทางซ้าย แต่ร่างกายส่วนบนยังคงหมุนไปทางขวาอยู่จึงทำให้เกิดการดึงรั้ง อันที่จริงนี่คือรูปลักษณ์ที่แท้จริงของมุมของข้อมือในขณะดาวน์สวิง (lag) ที่จำเป็นต่อการตี
คุณ Ryo Ishikawa กล่าวไว้ว่า「วางไม้กอล์ฟไว้บนหลัง」ในขั้นตอนที่ไม่กอล์ฟยังอยู่บนหลังของคุณร่างกายส่วนล่างจะเริ่มหมุนกลับ ด้วยช่องว่างของช่วงเวลานี้หัวไม้ที่ตกลงมาช้าจะเร่งความเร็วขึ้นและจะทำให้ลูกกอล์ฟลอยได้ไกลมากขึ้น

วิธีการสร้าง “มุมของข้อมือ (lag)” เมื่อดาวน์สวิงในอุดมคติ

ในการฝึกดาวน์สวิงจะมีท่อยาวชนิดหนึ่งที่ใช้พันกับเสาแล้วดึงลงไปทางซ้าย การดาวน์สวิงไม่ใช่แค่การลดไม้ลง แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก แต่ทว่า ไม่ใช่การใช้กำลังแขนแต่เป็นการใช้กำลังจากกล้ามเนื้อร่างกายส่วนล่าง (กล้ามเนื้อสี่ส่วนบริเวณต้นขาด้านหน้าของขาซ้าย และกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อสะโพกซ้าย) กับกล้ามเนื้อท้องและหลัง หน้าที่ของแขนและมือในการดาวน์สวิงคือ ไม่คลายการหักข้อมือ (cock) จนนาทีสุดท้าย และลดไม้กอล์ฟลงโดยไม่ให้ศอกขวาห่างจากร่างกาย (จินตนาการว่าศอกลดลงมาก่อน) ในขณะนั้นหากคุณใช้แรงที่แขนหรือมือก็คงสายเกินแก้ ดังนั้นให้จินตนาการเหมือนกับว่าใช้แรงโน้มถ่วงในการทำให้ไม้กอล์ฟตกลงมาก็ทำให้ง่ายขึ้น

สรุปในครั้งนี้

ในครั้งนี้ได้นำเสนอข้อมูลต่างๆที่ขาดไม่ได้ในการสร้างวงสวิงที่ถูกต้องไปแล้ว การสวิงเป็นการเคลื่อนไหวที่มักทำกันโดยไม่ไตร่ตรองก่อน แต่หากคุณเข้าใจโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ และใส่ใจกับการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ คุณก็จะสารมารถปรับปรุงคุณภาพการเล่นทั้งหมดได้ ฝึกฝนทุกวันเพื่อให้สามารถทำาการสวิงที่มีความเหมาะสมในขณะที่จินตนาการว่า ข้อต่อ กล้ามเนื้อและแกนลำตัวของคุณทำงานร่วมกันอย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า1~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】 วิธีการเพิ่มความเร็วหัวไม้ (club head speed) ด้วยแรงจากไม้กอล์ฟ

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form