ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า3~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า3~

คอลัมน์

2023.02.18

ในการสวิงกอล์ฟหากคุณมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการส่งแรงและการหมุนของร่างกายก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงหลายคนจะทำโดยใช้รูปแบบของตัวเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการส่งแรงตั้งแต่การอิมแพค (impact) ไปจนถึงการฟอลโล (follow) และท่าทางในการจบสวิง (finish) จึงมีหลายกรณีที่ทำท่าทางที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้นในครั้งนี้จึงจะมาแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเล่นกอล์ฟรวมถึงบทบาทที่มีความสำคัญของร่างกายส่วนล่างและแกนลำตัว

【สารบัญ】
1.“การดึงรั้ง” จากอิมแพค (impact) ไปสู่การฟอลโล (fallow) คืออะไร (วิธีการส่งแรง)
2.ใช้ท่าทางในอุดมคติ「แบบ I」ในการจบสวิง (finish) (จุดสิ้นสุดของการหมุน)
3.เหตุผลที่พื้นฐานของการสวิงคือร่างกายส่วนล่าง
4.การส่งแรงจากร่างกายส่วนล่างไปยังไม้กอล์ฟ「แกนลำตัว」
5.สรุปในครั้งนี้

“การดึงรั้ง” จากอิมแพค (impact) ไปสู่การฟอลโล (fallow) คืออะไร (วิธีการส่งแรง)

เมื่อค็อก (cock) หรือการหักข้อมือถูกปล่อยก่อนถึงการอิมแพค ก้านที่โค้งงอจะดีดกลับมาในจังหวะเวลาที่เหมาะสมและตอบรับกับการอิมแพค ในตอนนี้กริพจะกลับมายังตำแหน่งที่ทำการตั้งท่า (address) และศีรษะจะยังอยู่ที่ตำแหน่งด้านขวาของลูกกอล์ฟ มีนักกอล์ฟบางคน ลงน้ำหนักไปทางซ้ายขณะอิมแพคในสภาพที่ หน้าอกหันตรงไปด้านหน้าและสะโพกหันไปทางซ้ายอยู่แล้วประมาณ 5 องศา สวิงในลักษณะนี้เรียกว่า「การพุ่งเข้าใส่」
เนื่องจากในขณะอิมแพค แขนทั้งซ้ายและขวาจะเปลี่ยนตำแหน่งโดยธรรมชาติ (ไม่จำเป็นต้องโฟกัสที่การพลิกข้อมือกลับ) และแขนขวาจะยืดออกเมื่อทำการฟอลโล
เนื่องจากหัวไม้จะพยายามหันไปยังทิศทางของเส้นทางการลอยของลูกกอล์ฟซึ่งเกิดจากแรงเหวี่ยงออกจากจุดศูนย์กลาง แต่ศีรษะยังคงอยู่ด้านขวาของลูกกอล์ฟ จึงทำให้เกิดการดึงรั้งกันระหว่างไม้กอล์ฟและร่างกาย (ศีรษะ)
นักกีฬาขว้างค้อนจะใช้ร่างกายของตนเองเป็นแกนและหมุนโดยให้ค้อนเป็นตัวดึงรั้งเพื่อสร้างแรงเหวี่ยงออกจากจุดศูนย์กลางให้ได้มากที่สุด การอิมแพคของกอล์ฟก็เช่นเดียวกัน หากศีรษะเบี่ยงไปยังเส้นทางที่ลูกลอยไป ไม่เพียงแต่จะทำให้สูญเสียพลังงานแต่ยังเล็งไปถึงระนาบสวิงด้วย
ในส่วนของการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างตั้งแต่อิมแพคถึงฟอลโลนั้น จุดสำคัญคือการหมุนสะโพกตามระดับ (หมุนสุด) ในจุดนี้หากสะโพกหมุนไม่สุดและข้อสะโพกด้านซ้ายยืดออก จะทำให้ไม้กอล์ฟไปไม่ถึงการจบสวิง อีกทั้ง ไหล่ขวาจะลดต่ำลงเป็นผลให้เกิดการตีงัดลูกได้ เพื่อให้สะโพกหมุนได้ตามระดับ ความยืดหยุ่นและความแข่งแกร่งของกล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกซ้ายเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นแนะนำให้ทำการยืดข้อต่อสะโพกเป็นประจำทุกวัน

ใช้ท่าทางในอุดมคติ「แบบ I」ในการจบสวิง (finish) (จุดสิ้นสุดของการหมุน)

ในการฟอลโลแขนขวาจะยืดออกและก้านของไม้กอล์ฟจะซ้อนกันกับเส้นทางการลอยของลูกกอล์ฟ ศีรษะจะยังคงอยู่ด้านขวาของลูกกอล์ฟ แต่สะดือจะหันไปยังทิศทางเป้าหมายโดยสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันร่างกายส่วนล่างจะอยู่ในสภาพที่ เข่าขวาถูกส่งไปยังใต้เข่าซ้ายในขณะที่หมุนสะโพก และน้ำหนักจะถูกเคลื่อนย้ายไปฝั่งซ้ายในรวดเดียวทันที การรักษาท่าทางให้โน้มไปข้างหน้าจะถึงแค่จุดนี้ ด้วยแรงเหวี่ยงออกจากจุดศูนย์กลางของหัวไม้และการพับของข้อศอกซ้าย จะทำให้ไม้กอล์ฟหมุนไปรอบคอของนักกอล์ฟ ทำให้ร่างกายส่วนบนยืดกลับและใบหน้าจะหันไปยังทิศทางเป้าหมาย
ในการจบสวิงให้เคลื่อนย้ายน้ำหนักไปทางซ้ายในระดับที่สามารถยืนได้ด้วยขาซ้ายข้างเดียว ท่าจบสวิง「แบบ I」เป็นท่าในอุดมคติ ในสมัยก่อนท่าจบ「แบบ c กลับด้าน」ถือว่าเป็นท่าที่ดี แต่จะเป็นการสร้างนิสัยในการตีงัดลูกได้ง่ายและทำให้สะโพกรับภาระหนักเกินไป จึงไม่แนะนำ
นอกจากนี้ ยังมีนักกอล์ฟหลายคนที่ไม่สามารถรับน้ำหนักที่เคลื่อนย้ายมายังด้านซ้ายได้ นิ้วเท้าจึงเปิดออก แต่ด้วยสิ่งนี้จะทำให้สูญเสียพลังงานและทำให้ทิศทางแย่ลง การที่ด้านในของเท้าซ้ายพลิกขึ้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ยังไงก็อยากให้รับน้ำหนักด้วยด้านนอกของเท้าซ้ายและข้อต่อสะโพกซ้ายให้มั่นคง
ในการสวิงที่มีสมดุลที่ดี น้ำหนักของร่างกายจะอยู่บนข้อต่อสะโพกซ้ายอย่างมั่นคง จึงทำให้สามารถคงอยู่ในท่าจบได้หลายวินาที ดังนั้น หากใส่ใจกับการสวิงให้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบสวิงได้ ก็พูดได้เลยว่าจะไม่เกิดการเหวี่ยงที่มากเกินไปจนทำให้เสียสมดุล

เหตุผลที่พื้นฐานของการสวิงคือร่างกายส่วนล่าง

หน้าที่ของร่างกายส่วนล่างในการสวิง

หน้าที่หลักในการสวิงคือ ร่างกายส่วนล่าง แน่นอนว่าสวิงหมายถึงการเหวี่ยงไม้กอล์ฟ เมื่อพูดว่า「เหวี่ยง」เรามักคิดว่าเป็นหน้าที่ของมือและแขน แต่พลังงานส่วนใหญ่ในการเหวี่ยงไม้กอล์ฟจะมาจากร่างกายส่วนล่าง หากจะพูดให้เห็นภาพคือ การหมุนสะโพก และการหมุนสะโพกจะเร็วขึ้นได้ ก็ขึ้นอยู่กับแรงของขาทั้งสองข้าง
พิชเชอร์หรือคนขว้างลูกในกีฬาเบสบอลและคนตีลูก ก็มีหน้าที่ในการ「เหวี่ยงแขน」เช่นกัน แต่แหล่งที่มาของพลังงานนั้นอยู่ที่ร่างกายส่วนล่าง หากเปรียบเทียบร่างกายส่วนล่างและส่วนบนแล้ว เดิมทีพลังงานที่มาจากร่างกายส่วนล่างจะมีกำลังมากกว่า ในกีฬากอล์ฟก็เช่นกัน นักกอล์ฟที่เหวี่ยงไม้ด้วยการส่งแรงขับเคลื่อนจากการหมุนของร่างกาย (สะโพก) แม้จะไม่มีกำลังแขนก็สามารถตีลูกได้ไกลและมีทิศทางที่ดีกว่านักกอล์ฟที่เหวี่ยงไม้ด้วยการพึ่งพากำลังแขน โดยสรุป ในการเล่นกอล์ฟบทบาทของแขนและมือคือ การถ่ายทอดพลังงานที่เกิดจากร่างกายส่วนล่างไปยังไม้กอล์อฟนั่นเอง
แน่นอนว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการมีความสามารถในการ「เหวี่ยงไม้ได้เร็ว」แต่การจะใช้ความสามารถนั้นให้เกิดประโยชน์ได้จำเป็นจะต้องมีความเร็วในการหมุนสะโพกให้ทันกับความเร็วในการเหวี่ยงแขน และจำเป็นต้องทำให้ร่างกายส่วนล่างแข็งแรงขึ้น การวิ่งและสควอชเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายส่วนล่าง แต่สำหรับใครที่คิดว่าการฝึกเหล่านี้ยากเกินไป อย่างน้อยเวลาที่ไปออกรอบแนะนำให้ใช้การเดินเร็วและก้าวขาให้ยาวแทนการนั่งรถกอล์ฟ

การส่งแรงจากร่างกายส่วนล่างไปยังไม้กอล์ฟ「แกนลำตัว」

สิ่งสำคัญถัดจากการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่างก็คือ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ「แกนลำตัว」แกนลำตัวมีความหมายตรงตามชื่อเรียกคือหมายถึง ส่วนที่เป็นแกนหลักของร่างกาย พูดให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมคือ กลุ่มกล้ามเนื้อตั้งแต่ท้องจนถึงสะโพก รวมถึงกล้ามเนื้อด้านในของแผ่นหลัง ในปัจจุบัน ความสำคัญของแกนร่างกายได้รับความสนใจในกีฬาแทบทุกประเภท
แกนลำตัวไม่เพียงแต่ควบคุมการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อ「รองรับน้ำหนักของตัวเอง」แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการ「สร้างสมดุลของร่างกาย」
ในกรณีของกอล์ฟมีความสำคัญมากกว่านั้น ซึ่งคุณจะเข้าใจได้มากขึ้นหากลองมองวงสวิงของกอล์ฟให้เป็นเหมือนลูกข่าง แกนลำตัวในการเล่นกอล์ฟจะทำหน้าที่เหมือนแกนของลูกข่าง และหากแกนของลูกข่างเอียงหรือยวบลูกข่างก็จะล้มลงทันที
หากแกนลำตัวอ่อนแอ จะไม่สามารถกำหนดท่าทางการโน้มตัวไปด้านหน้าเมื่อทำการตั้งท่าได้ และถึงแม้จะทำได้ในขั้นตอนการตั้งท่า ก็จะไม่สามารถรักษาท่าทางการโน้มตัวได้จนถึงขั้นตอนการอิมแพค
นอกจากนี้ เพื่อส่งพลังงานที่เกิดจากร่างกายส่วนล่างไปยังไม้กอล์ฟในขั้นสุดท้าย แกนลำตัวที่เชื่อมร่างกายส่วนล่างกับไม้กอล์ฟ (แขน) จะต้องแข็งแรง แกนลำตัวยังทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องยนต์เมื่อบิดร่างกายส่วนบนร่วมกับส่วนล่างด้วย
ก่อนหน้านี้ได้บอกไปแล้วว่าการขึ้นไม้ (take back) ต้องใช้กล้ามเนื้อท้องและหลัง แต่ในทางกลับกันนักกอล์ฟที่ยกไ้ม้ขึ้นด้วยมืออาจมีสาเหตุมาจากการที่แกนลำตัวไม่แข็งแรง วิธีการฝึกความแข็งแรงของแกนลำตัวแบบดั้งเดิมคือการออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง (crunch) โดยการนอนหงายบนพื้นงอเข่าขึ้นแล้วประสานมือไว้ที่ท้ายทอย จากนั้นยกลำตัวส่วนบนขึ้นเพื่อให้มองเห็นสะดือ โดยเคลื่อนไหวให้มากพอที่จะยกสะบักให้ห่างออกจากพื้น เมื่อยกลำตัวช่วงบนขึ้นหากบิดแกนลำตัวไปทางซ้ายขวาสลับกันก็ได้ผลดีเช่นกัน ถัดไปคือ การออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง ให้นอนคว่ำหน้ากับพื้นแล้วเหยียดแขนออก จากนั้นแอ่นตัวขึ้นและขยับร่างกายส่วนบนและล่างสลับกันเป็นจังหวะ มันอาจยากในตอนแรก ดังนั้นอย่าหักโหมเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแอ่นหลังมากเกินไปอาจทำให้สะโพกบาดเจ็บได้

สรุปในครั้งนี้

ในครั้งนี้ได้นำเสนอข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายที่เกี่ยวกับการสวิงไปแล้ว คุณอาจมีโอกาสที่จะได้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและบทบาทหน้าที่ของร่างกายแต่ละส่วนเช่น ร่างกายส่วนล่างหรือแกนลำตัว ไม่มากนัก แต่หากทำการเช็คไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้สามารถจินตนาการถึงการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น และหากใส่ใจกับการเล่นโดยการวาดภาพในจินตนาการก็จะค้นพบเส้นทางในการพัฒนาการเล่นได้โดยธรรมชาติ และหวังว่าบทควาามนี้จะเป็นประโยชน์ในการอัพสกิลการเล่นกอล์ฟของคุณได้ไม่มากก็น้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า1~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า2~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form