ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์ด้านจิตใจ~ไม่พลาดในสถานการณ์สำคัญ2~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์ด้านจิตใจ~ไม่พลาดในสถานการณ์สำคัญ2~

คอลัมน์

2023.03.15

ในขณะที่กำลังเล่นกอล์ฟ มีคนจำนวนมากที่มักทำผิดพลาดเพราะรู้สึกกดดันในสถานการณ์ที่สำคัญที่สุด ที่จริงแล้วการทำผิดพลาดสำหรับมือสมัครเล่นนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เพื่อให้เข้าใกล้ความเป็นโปรกอล์ฟมากขึ้น การลดช็อตผิดพลาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ มีเทคนิคสำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดช็อตผิดพลาดแต่ปัจจัยทางด้านจิตใจก็ถูกมองว่ามีความสำคัญเช่นกัน
ดังนั้นในคอลัมน์นี้จะมาแนะนำวิธีในการรับมือที่ดีที่ควรทำก่อนเริ่มตีเพื่อลดความผิดพลาดและสาเหตุทางด้านจิตใจเมื่อเกิดช็อตผิดพลาด

【สารบัญ】
1.สาเหตุทางด้านจิตใจเมื่อเกิดช็อตผิดพลาด (ความอดทนของกอล์ฟ)
2.การบ่นพึมพำคนเดียวที่ให้ผลดีก่อนตีช็อต (ไม่ใช่ must แต่ต้อง do)
3.“ประเด็นหลักของบทเรียน” ของ self talk (ประสิทธิภาพของ self talk)
4.สรุปในครั้งนี้

สาเหตุทางด้านจิตใจเมื่อเกิดช็อตผิดพลาด (ความอดทนของกอล์ฟ)

「bunker to bunker」และ「rough to rough」เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นว่าในการเล่นกอล์ฟมีความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นแบบติดต่อกัน สาเหตุที่มักถูกพูดถึงคือ「การพยายามฝืน」ตัวอย่างเช่น「การพยายามฝืน」ตีลูกกอล์ฟที่อยู่ลึกลงไปในรัฟ (rough) ลูกกอล์ฟเอาชนะรัฟไม่ได้และเข้าไปที่บังเกอร์ที่เล่นได้ยากบริเวณหน้ากรีน ดังนั้นในขณะนั้นต้อง「ไม่ฝืน」รุ่นพี่ส่วนใหญ่จะสอนว่า ก่อนอื่นให้ออกจากแฟร์เวย์ (fairway) และหลังจากนั้นค่อยจเล็งไปยังกรีน
เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดช็อตผิดพลาดติดต่อกัน คุณต้องทำความเข้าใจและยอมรับก่อนว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้กับทุกคน ยอมรับโทษปรับและไม่พยายามฝืน「การฝืน」จะทำได้หลังจากที่คุณมีสกิลในการทำให้การฝืนไม่รู้สึกว่าฝืนแล้ว
นอกจากนี้ หากตีดับเบิ้ลโบกี้ (double bogey) หรือโบกี้ (bogey)ในหลุมก่อนหน้า มีนักกอล์ฟบางคนที่หาโอกาสทำ พาร์(par) และเบอร์ดี้ (birdie)ในทันที แต่นี่จะทำให้เกิดช็อตผิดพลาดอย่างต่อเนื่องได้ง่าย การตีดับเบิ้ลโบกี้หรือโบกี้เป็นสัญญาณว่าช็อตของคุณเริ่มผิดจังหวะ หรือลำดับการเล่นโดยรวมของคุณแย่ลง ในการทำให้จังหวะและลำดับการเล่นกลับมาเหมือนเดิมนั้นค่อนข้างใช้เวลา และหลุมต่อไปหลังจากตีดับเบิ้ลโบกี้หรือโบกี้ ถ้าเป็นดับเบิ้ลโบกี้ให้สมมุติว่าเป็นโบกี้ ถ้าเป็นโบกี้ให้สมมุติว่าเป็นพาร์ ด้วยวิธีนี้ คุณจะค่อยๆ แก้ไขวงสวิงและย้อนกลับไปยังลำดับขั้นในการเล่นได้ หากคุณมีความอดทนในการเล่นกอล์ฟ เหมือนกับรอสภาพอากาศที่เหมาะสมในการเดินเรือ โอกาสในการได้เบอร์ดี้ก็จะมาถึงอย่างแน่นอน แล้วค่อยชดเชยความผิดพลาดเมื่อถึงเวลานั้น

การบ่นพึมพำคนเดียวที่ให้ผลดีก่อนตีช็อต (ไม่ใช่ must แต่ต้อง do)

Tiger woods มักจะบ่นพึมพำก่อนที่จะทำการตั้งท่า (address) ในการพัตติ้ง (putting)
บางทีอาจเป็นการพูดเพื่อให้ตัวเองตรวจไลน์หรือจุดสโตรคที่ต้องจำ การพูดกับตัวเองแบบนี้เรียกว่า「self talk」ในทางจิตวิทยาและถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการฝึกคิดบวก
แต่ทว่าจะต้องมีเทคนิคในการ self talk นั่นก็คือการพูดพึมพำเป็นประโยคต้อง (do) ไม่ใช่(must)「must」แปลว่า「ต้องทำ」ตัวอย่างเช่นหากเป็นการพัตต์「จะต้องให้ลงที่นี่ให้ได้」แต่การบ่นพึมพำในลักษณะนี้เหมือนภาษาที่เป็นประโยคคำสั่ง ซึ่งเป็นเหมือนการกดดันตัวเอง ดังนั้นโดยส่วนใหญ่จะให้ผลในทางตรงกันข้าม ในแง่นั้น ประโยคที่ใช้「do」จึงกลายเป็นการบอกว่าเล่าง่ายๆ ว่า「ทำ」หากเป็นการพัตต์ อาจเปลี่ยนเป็นประโยคเช่น「ตีด้วยแกนกลาง」หรือ「ไม่มองหลุม」แต่ถ้ายังรู้สึกถึงโทนเสียงของการออกคำสั่งในการพูดว่า「ตี」หรือ「ไม่มอง」ให้ลองเปลี่ยนเป็น「มาตีกัน」หรือ「มาตีกันนะ」ก็ได้ หรือในอีกแง่หนึ่งคำว่า「ไม่มอง」หมายถึง「don’t」จึงเป็นปัจจัยในแง่ลบ ดังนั้นให้เปลี่ยนการพูดให้เป็นประโยคบอกเล่าเช่น「ไม่มองหลุม」→「มองแค่ลูกกอล์ฟ」ซึ่งนักจิตวิทยาบางคนมองว่าดีกว่า
ไม่ว่าด้วยวิธีใดการพูดพึมพำด้วยประโยคบอกเล่าเช่นนี้จะไม่เป็นการกดดันตัวเอง แต่จะให้ความมั่นใจว่า「เพียงแค่ทำจุดที่ต้องทำก็จะลงหลุม」และการสวิงหรือสโตรคก็จะทำได้อย่างราบรื่น

“ประเด็นหลักของบทเรียน” ของ self talk (ประสิทธิภาพของ self talk)

สำหรับการ self talk ไม่ใช่แค่วิธีการพูด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการพูดก็มีผลการทดลองที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน ที่อเมริกาได้ทำการทดลด แบ่งนักกอล์ฟ 3 คนออกเป็น 4 กลุ่มและให้พวกเขาตีช็อตแอพโพรช (approach shot) 30 ช็อตในระยะ 3 หลา
ทั้ง 4 กลุ่มจะถูกแบ่งตามเนื้อหาของการพูดคุยกับตัวเองก่อนตีช็อตดังนี้

(1) กลุ่มที่พูดกับตัวเองในเชิงบวก (เช่น「ฉันทำได้ดีในวันนี」「การแอพโพรชนี้ง่ายจัง」)
(2) กลุ่มที่พูดกับตัวเองในเชิงลบ (เช่น「วันนี้ฉันไม่ค่อยสบาย」「 เวลาประมาทฉันทำได้แบบหยาบๆ」)
(3) กลุ่มที่พูดกับตัวเองโดยการแนะนำ (เช่น「มาตีด้วยการหมุนตัวกันเถอะ」และ「ค่อยๆ หันกลับนะ」)
(4) กลุ่มที่ไม่พูดกับตัวเอง

ผลที่ได้ก็คือ กลุ่มที่พูดพึมพำกับตัวเองโดยการ「พูดแนะนำ」ตีช็อตได้มั่นคงมากที่สุด และกลุ่มที่ 1 ทำได้แบบทั่วไป 2 และ 4 ทำได้แย่กว่า
นอกจากนี้นักกอล์ฟที่พูดกับตัวเองหลากหลายประเภทโดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาก็ทำได้ไม่ดีเช่นกัน
อย่างที่ Tiger เคยทำ「การพูดกับตัวเองโดยการแนะนำ」นั้นได้ผลดี แต่ถ้าเนื้อหาในการแนะนำไม่ใช่ประเด็นหลักก็จะให้ผลที่ตรงกันข้าม เนื่องจากมนุษย์ไม่ถนัดในการ「ทำสิ่งหนึ่งไปพร้อมๆกับนึกถึงสองสิ่งขึ้นไป」สิ่งนั้นสามารถคาดเดาได้จากผลการทดลองที่ว่าการพูดกับตัวเองหลากหลายประเภทนั้นไม่ได้ผล ดังนั้นในการออกรอบครั้งต่อไป ให้ลองพูดพึมพำคำที่สรุปประเด็นที่ต้องจำไว้ในระหว่างออกรอบไปด้วย

สรุปในครั้งนี้

ในครั้งนี้ได้แนะนำการรับมือเพื่อลดช็อตผิดพลาดไปแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้าง?
การเป็นโปรกอล์ฟก็เป็นสาเหตุหลักทางด้านจิตใจด้วยเช่นกัน แต่โปรกอล์ฟจะลดความเสี่ยงด้วยการพูดกับตัวเองดังที่ได้แนะนำไปแล้วเพื่อรักษาจิตใจให้สงบ
ยิ่งฝึกฝนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเล่นด้วยสภาพจิตใจแบบเดียวกับการฝึกก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น และสถานการณ์ที่คุณสามารถแสดงความสามารถที่แท้จริงออกมาได้ก็จะมีมากขึ้น นี่เป็นวิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุดแม้กระทั่งสำหรับมือสมัครเล่น ดังนั้นโปรดลองนำไปใช้ดู
ในคอลัมน์อื่นๆ ก็จะมาแนะนำวิธีรักษาสภาพจิตใจเมื่อเล่นกอล์ฟด้วยเช่นกัน และหวังว่านี่จะเป็นประโยชน์สำหรับการเล่นของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า6~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์ด้านจิตใจ~ไม่พลาดในสถานการณ์สำคัญ1~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form