ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์ด้านจิตใจ~ไม่พลาดในสถานการณ์สำคัญ1~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์ด้านจิตใจ~ไม่พลาดในสถานการณ์สำคัญ1~

คอลัมน์

2023.03.10

แน่นอนว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถทางเทคนิค แต่ความแข็งแกร่งทางจิตใจก็มีความสำคัญเช่นกัน ในสถานการณ์สำคัญ การที่จะสามารถแสดงความสามารถที่แท้จริงออกมาได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งทางจิตใจ หลายคนอาจคิดว่าความแข็งแกร่งทางจิตใจไม่สามารถฝึกฝนได้ แต่หากคุณฝึกฝนตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันในการฝึกฝนปกติ คุณก็จะสามารถแสดงความสามารถที่แท้จริงออกมาได้แม้ในระหว่างการแข่งขัน
ดังนั้นในคอลัมน์นี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับสาเหตุที่ว่าทำไมความกดดันจึงนำไปสู่ความผิดพลาดและการมีจิตใจที่แข็งแกร่งเป็นอย่างไร

【สารบัญ】
1.3 เหตุผลที่ความกดดันทำให้เกิดข้อผิดพลาด (วิธีหลีกเลี่ยงความตึงเครียด)
2.สามารถเล่น 18 หลุมโดยไม่มีอารมณ์แปรปรวนได้หรือไม่ (ความพลิกผันของอารมณ์)
3.การเล็งที่เป้าหมาย「โดยตรง」และการเพิ่มสมาธิ (สาเหตุที่ติดกับดัก)
4.สรุปในครั้งนี้

3 เหตุผลที่ความกดดันทำให้เกิดข้อผิดพลาด (วิธีหลีกเลี่ยงความตึงเครียด)

ไม่มีกีฬาชนิดไหนที่ใช้คำว่า「กดดัน」ได้มากเท่ากอล์ฟ
ตัวอย่างเช่น ความกดดันที่ว่า「จะตีทีช็อตได้ดีไหม」ในหลุมแรก หรือการมองเห็นบ่อน้ำหน้ากรีนและคิดว่า「ต้องพยายามตีไม่ให้ลงบ่อน้ำ」หรือ「ถ้าจบหลุมนี้ด้วยพาร์ได้ ก็จะทำคะแนนที่ดีที่สุดได้」เป็นต้น
กอล์ฟคือ「การต่อสู้กับแรงกดดัน」อย่างแท้จริง ในช่วงเวลาเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกจิตใจจะสอน「วิธีกำจัดความกดดัน」และ「วิธีในการสนุกไปกับความกดดัน」
แต่อย่างไรก็ตามมือสมัครเล่นส่วนใหญ่ไม่สามารถลดความกดดันให้เหลือ 0 ได้ และยิ่งไปกว่านั้นการไปให้ถึงจุดที่เรียกว่าสนุกก็ทำได้ค่อนข้างยาก ในช่วงเวลาเช่นนี้ การยอมรับว่าคุณกำลังกดดันและรู้ว่าวงสวิงของคุณเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่ออยู่ภายใต้ความกดดันเป็นสิ่งที่ฉลาดที่สุด
หากสามารถตรวจจับสัญญาณอันตรายได้ล่วงหน้า คุณก็สามารถรับมือกับปัญหาได้ การทำเช่นนี้จะทำให้อัตราของช็อตผิดพลาดลดลง และในที่สุด คุณจะมีความรู้สึกที่ว่า「เข้ามาเลย」ต่อแรงกดดัน
ด้านล่างคือตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงของวงสวิงที่มักพบได้บ่อยเมื่อนักกอล์ฟรู้สึกกดดัน
นักกอล์ฟที่รู้สึกกดดัน จะอยู่ในสภาวะที่ส่วนปลายของร่างกายขาดเลือดจึงทำให้มือไม่มีความรู้สึก ดังนั้นนักกอล์ฟจึงพยายามจับกริพให้แน่นขึ้นและจับแรงเกินความจำเป็น
การจับกริพแรงจะทำให้ตั้งแต่แขนถึงไหล่เกิดแรงที่เกินความจำเป็นจึงทำให้ไม่สามารถคาดหวัง nice shot ได้
ดังนั้น เมื่อคุณรู้สึกว่ากดดัน สิ่งสำคัญคือต้องหายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนคลายไหล่ และจับกริพหลวมๆ
นอกจากนี้ เอกลักษณ์ของความกดดันคือความกลัวว่า「อาจล้มเหลว」จึงทำให้รู้สึกว่า「อยากหนีจากความกลัวนี้ให้เร็วที่สุด」และ「อยากเห็นผลลัพธ์ให้เร็วที่สุด」ส่งผลให้การหมุนของไหล่ตื้นขึ้น และรีบตีด้วยความรีบร้อน

สามารถเล่น 18 หลุมโดยไม่มีอารมณ์แปรปรวนได้หรือไม่ (ความพลิกผันของอารมณ์)

ในการออกรอบยิ่งอารมณ์ราบเรียบเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น หากเป็นโปรกอล์ฟ การฟาดไม้อย่างแรงเมื่อทำพลาดหรือทำท่าชูกำปั้นเพื่อแสดงความดีใจเมื่อได้ long putt อาจเรียกพลังและทำคะแนนเพิ่มได้ แต่สำหรับมือสมัครเล่นไม่แนะนำให้ลอกเลียนแบบ การรักษาอารมณ์คงที่ให้ได้มากที่สุดจะดีต่อคะแนนของคุณ
เมื่อนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ฮัดสันและวอล์คเกอร์ สัมภาษณ์นักกอล์ฟระดับมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ พวกเขาพบว่านักกีฬาชั้นนำมี「อารมณ์」ที่เสมอต้นเสมอปลาย ดังนี้
อย่างแรกคือความรู้สึกในการมุ่งไปข้างหน้าเพื่อทำเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ให้สำเร็จ
และอย่างที่ 2 คือการปรับท่าทีที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาว่าคุณก็มองหาคุณค่าที่ทุกๆคนก็ต่างมองหา และไม่แสดงท่าทางขวางโลกเหมือนกับว่าคุณ「ไม่สนเรื่องคะแนน」
และสุดท้ายอย่างที่ 3 ความตั้งใจของตนเองเช่น รู้สึกที่ว่าผลจะดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง
แต่ว่ากันว่าอารมณ์ที่ควรทำตามในลักษณะนี้จะขึ้นอยู่กับโชคร้ายเช่น หนึ่งOB หรือ ช็อตที่เล่นไม่ได้ (unplayable)
และอาจพลิกกลับได้ง่ายๆเช่น「หลังจากนี้คงเป็นรอบฝึกซ้อมแล้วหล่ะ」สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคืออารมณ์แปรปรวนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณเล่นได้ดี
อย่างหนึ่งคือเมื่อคุณเบื่อที่จะแสดงเป็นนักกอล์ฟตามแบบที่ควรจะเป็น และอีกอย่างคือเมื่อรู้สึกห่อเหี่ยวและคิดว่า「ไม่มีทางที่จะเล่นกอล์ฟได้ดีไปได้ตลอด」หรือในทางกลับกันคือลองพยายามเสี่ยงโชค
ไม่ว่าในกรณีใด จากช่วงเวลาที่อารมณ์เปลี่ยนไป การเล่นของนักกอล์ฟจะสับสน และจะทำให้ตีได้โบกี้ (bogey) และดับเบิ้ลโบกี้ (double bogey) ซ้ำๆ
พูดอีกอย่างก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะผ่านการออกรอบได้ด้วยอารมณ์เดียว ท่าทางที่ Tiger แสดงเมื่อเขารู้สึกโกรธ จริงๆแล้วการทำเช่นนั้นเป็นการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกชั่วขณะ และเป็นวิธีสงบสติอารมณ์ที่ทำได้เร็วที่สุดอีกด้วย
คุณจะไม่สามารถเล่นได้ตามปกติตราบใดที่ยังแบกความโกรธหรือดีใจอยู่ตลอดเวลา
โปร Kenichi Kubota ผู้ซึ่งจะบ่นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเขาจะทำคะแนนได้ดีมากแค่ไหน เรียกได้เลยว่าเป็นโปรของโปรเลยก็ว่าได้ เพราะเขาจะไม่สุขและไม่เศร้าในระหว่างการเล่นนั่นเอง

การเล็งที่เป้าหมาย「โดยตรง」และการเพิ่มสมาธิ (สาเหตุที่ติดกับดัก)

กอล์ฟเป็นกีฬาที่มีเป้าหมาย เช่นเดียวกับการยิงธนู การยิงปืน ฯลฯ ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการ「จ้องมองดูเป้าหมาย」มีการทดลองกับโปรกอล์ฟมืออาชีพและนักกอล์ฟสมัครเล่นเพื่อดูว่าพวกเขากำลังมองที่ใดเมื่อเล็งไปที่กรีนโดยติดกล้องตาที่ตรวจสอบตำแหน่งโฟกัสของดวงตา
ตามข้อมูลดังกล่าว สายตาของโปรกอล์ฟจับจ้องไปที่ตำแหน่งที่ลูกบอลตกลงบนพื้นกรีน ในขณะที่ตาของมือสมัครเล่นไม่เพียงแต่มองไปบนพื้นกรีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบังเกอร์ (bunker) และรัฟ (rough) ที่อยู่ด้านข้าง
ถึงกระนั้น ก็ยังดีที่สามารถโฟกัสไปที่「จุดตก」ได้ในท้ายที่สุด จึงทำให้ทราบว่านักกอล์ฟได้เริ่มสวิงโดยที่ยังไม่ได้ทำจิตใจให้สงบมากพอ
ในกรณีนี้ การตีขึ้นกรีนและยิ่งไปกว่านั้นคือช็อตเข้าหาหมุดก็เป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากความบังเอิญเท่านั้น
แล้วทำไมมือสมัครเล่นถึงไม่จ้องไปที่จุดที่ลูกกอล์ฟตก?  เป็นเพราะว่ามัวแต่กังวลกับบังเกอร์และรัฟที่อยู่ด้านข้าง
กล่าวคือ ณเวลานั้นการโฟกัสของนักกอล์ฟไม่ได้อยู่ที่การ「เล็งไปยังกรีนที่อยู่ด้านโน้น」แต่เป็นการโฟกัสว่า「ต้องไม่ให้เข้าบังเกอร์ที่อยู่หน้ากรีน」แน่นอนว่าเมื่อโปรกอล์ฟเล็งไปที่กรีนพวกเขาจะคอยเช็คเสมอว่าจุดไหนที่ไม่ควรตี และในกรณีที่แย่ที่สุด พวกเขาจะคิดหาวิธีตีที่จะไม่ให้ทิศทางของลูกลอยไปยังจุดนั้นเหล่านั้น หากคุณวางแผนในการรับมือไว้แล้วหลังจากนั้นก็แค่มีสมาธิจดจ่อไปที่จุดตกของลูก หรือพูดแบบสุดโต่งเลยก็คือในขั้นตอนนี้ บังเกอร์และรัฟที่อยู่ด้านข้างจะหายไปจากสายตาของโปรกอล์ฟ
Harvey Pennick ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามบุคคลที่เลี้ยง Tom Kite และ Ben Crenshaw พูดไว้ว่า「Take dead aim」ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเล่นช็อตที่เล็งไปยังกรีน แทนที่จะเล็งไปที่「ตรงกลางกรีน」แบบคร่าวๆ คุณควรพยายามบีบพื้นที่ให้ใกล้เคียงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด (เล็งตรงไปที่เป้าหมาย) เช่น「แครี่ 3 หลาด้านในหมุดแล้วย้อนกลับด้วยแบ็คสปิน」
เนื่องจากเมื่อกำหนดเป้าหมายให้แคบลง ความสามารถในการมีสมาธิจดจ่อที่จำเป็นสำหรับการสวิงจะผุดขึ้นมา ไม่ว่าคุณจะพาลูกลูกกอล์ฟไปยังเป้าหมายนั้นได้หรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นโปรมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น เป้าหมายสูงสุดของกอล์ฟคือหลุมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 108 มม. หากไม่ตั้งเป้าเช่นนั้นไว้ ก็คงไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นนักกอล์ฟอย่างแท้จริง

สรุปในครั้งนี้

ในคอลัมน์นี้ได้เน้นไปที่วิธีหลีกเลี่ยงความรู้สึกกดดันในการเล่นกอล์ฟ
แม้แต่นักกอล์ฟมืออาชีพก็ยังรู้สึกกดดัน และแต่ละคนก็มีวิธีการหลีกเลี่ยงของตัวเอง นอกจากนี้ คุณยังสามารถเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงผ่านการฝึกทุกวัน และหากหลีกเลี่ยงความกดดันได้ดี ก็สามารถตั้งเป้าหมายในการทำคะแนนให้สูงขึ้นได้
โปรดลองใช้วิธีคิดที่ได้นำเสนอในครั้งนี้ไปใช้เพื่อปรับปรุงสภาพจิตใจของคุณดู

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า5~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า6~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form