ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า5~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน•ไม่เสียแรงเปล่า5~

คอลัมน์

2023.02.28

ทุกคนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ตนเองสร้างวงสวิงที่ถูกต้องอยู่หรือไม่เมื่อเล่นกอล์ฟ วงสวิงเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของกอล์ฟ แต่จริงๆ แล้วมีไม่กี่คนที่สามารถทำวงสวิงที่เหมาะสมได้
ดังนั้นในครั้งนี้จะมาแนะนำการเทรนนิ่งง่ายๆที่คุณสามารถทำได้ในชีวิตประจำวันที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเล่นกอล์ฟของคุณ
นอกจากนั้น เรายังจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่มักเป็นปัญหาสำหรับนักกอล์ฟ ดังนั้นโปรดลองนำไปใช้อ้างอิง

【สารบัญ】
1.การเทรนนิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ (ทำเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน)
2.อาการปวดสะโพกเป็นชะตากรรมของนักกอล์ฟหรือไม่ (ผลของการสวิงแบบผิดๆ)
3.สรุปในครั้งนี้

การเทรนนิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ (ทำเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน)

ผู้ที่มีความรู้ที่เหมาะสมเกี่ยวกับกอล์ฟจะทราบดีว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกายมีความสำคัญต่อการพัฒนาการเล่นกอล์ฟ เพื่อฝึกฝนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นการเข้ายิมอาจเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์หรือเวลา การเทรนนิ่งที่สามารถทำไดในชีวิตประจำวันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก แน่นอนว่ามันจะทำให้คุณเล่นกอล์ฟได้ดีขึ้นและอาจช่วยให้คุณค่อยๆเกิดความกระปรี้กระเปร่าในการไปทำงานได้อีกด้วย

เช้า

เมื่อตื่นแล้วให้ทำการยืดกล้ามเนื้อบนเตียงก่อนเป็นอันดับแรก แนะทำให้ทำการยืดแบบโคชิวาริของซูโม่และทำการยืดข้อต่อสะโพกโดยการดันไหล่เข้าด้านในจากท่าโคชิวาริได้เลย
นอนราบและยกเข่าทั้งสองข้างขึ้น ดันเข่าไปทางซ้ายและขวา ด้วยท่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของแกนลำตัวได้และยังมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีอาการปวดสะโพกเรื้อรังได้อีกด้วย
นอกจากนี้การยืนขาเดียวในขณะแปรงฟันก็มีประโยชน์ด้วยเช่นกัน ให้ลองฝึกโดยการยกเท้าซ้ายขวาสลับกันเพื่อเป็นการฝึกบาลานซ์ ซี่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเล่นกอล์ฟและหากเริ่มคุ้นเคยกับการยืนขาเดียวแล้วให้ลองยืนโดยหลับตาข้างหนึ่งไปพร้อมๆกัน
ต่อจากนั้นคือ การสควอชในห้องน้ำ ให้ยกสะโพกให้ลอยขึ้นโดยไม่นั่งลงไปบนชักโครก ช่วงแรกให้ทำค้างไว้ประมาณ 30 วินาทีก่อน เมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้วแนะนำให้ค่อยเพิ่มเวลาไปทีละนิด

เดินทางไปทำงาน・ไปเรียน

ด้วยการถือกระเป๋าสลับกันซ้ายขวา จะมีผลในการจัดบาลานซ์ของร่างกาย เหมือนกับการที่นักกอล์ฟที่ถนัดขวาสวิงซ้ายในบรรดานักกอล์ฟที่ถนัดขวามีบางคนฝึกฝนประสาทสัมผัสของมือซ้ายด้วยการใช้มือซ้ายคีบตะเกียบเมื่อทานอาหาร
นอกจากนี้ การไม่โหนราวจับเมื่อขึ้นรถไฟก็ให้ผลที่ดีเช่นกัน การยืนโดยไม่โหนราวจับนอกจากจะได้ฝึกบาลานซ์แล้ว ยังได้ฝึกกล้ามเนื้อร่างกายส่วนล่างด้วย หากสามารถยืนได้ด้วยขาเพียงข้างเดียวก็จัดได้ว่าเป็นผู้เล่นในระดับสูง
การขึ้นบันไดโดยการข้ามทีละสองขั้นก็ให้ผลดีเช่นกัน เมื่ออยู่ที่สถานีรถไฟให้ใช้การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้บันไดเลื่อน

ออฟฟิส

ให้ระวังเมื่อนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ เมื่อนั่งหน้าคอมพิวเตอร์คุณมักนั่งหลังค่อมไม่ก็นั่งไขว่ห้างใช่หรือไม่ ท่าทางในชีวิตประจำวันจะส่งผลโดยตรงต่อการตั้งท่า (address) ดังนั้นให้นั่งหลังตรงและวางเท้าทั้งสองข้างให้ตรงลงบนพื้น

หลังจากกลับบ้าน

เมื่อดูโทรทัศน์อยู่ที่ห้องนั่งเล่นให้ลองใช้บาลานซ์บอลแทนการนั่งบนโซฟา เพียงนั่งบนลูกบอลก็จะสามารถยืดข้อต่อสะโพกได้ นอกจากนี้หากโยกบั้นท้ายไปซ้ายขวาหน้าหลังก็จะเป็นการเพิ่มการยืดกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกบั้นเอวได้อีกด้วย
และเมื่ออาบน้ำให้ใช้มือถูหลังแทนการใช้ผ้าอาบน้ำ เพียงแค่ใช้มือถูหลังก็จะช่วยเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อไหล่ ซึ่งคุณจะรู้สึกได้ว่าวิถีโค้งที่หัวไม้วาดเมื่อทำการสวิง (swing arc) มีความกว้างมากขึ้น

อาการปวดสะโพกเป็นชะตากรรมของนักกอล์ฟหรือไม่ (ผลของการสวิงแบบผิดๆ)

อาการปวดสะโพกนับว่าเป็นข้อบกพร่องของร่างกายอันดับหนึ่งที่นักกอล์ฟมีความกังวล มีโปรกอล์ฟจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกจากวงการไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะอาการนี้ มีหลายคนที่มีอาการปวด ตั้งแต่มือสมัครเล่นที่อาการหนักถึงขั้นไม่สามารถเหวี่ยงไม้ได้ ไปจนถึงผู้ที่รู้สึกว่าสะโพกมีความผิดปกติบางอย่าง นักกอล์ฟส่วนมากต้องทนกับอาการปวดเนื่องจากวงสวิงของกอล์ฟประกอบด้วยการบิดสะโพก (เอว) แต่ส่วนเอวนี้มีช่วงที่สามารถเคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก ดังนั้นการบิดเอวมากจนเกินไปจึงทำให้เกิดอาการปวดสะโพกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการปวดสะโพกก็ไม่ใช่ชะตากรรมที่นักกอล์ฟทุกคนจะต้องเจอ
แต่ก็เป็นความจริงที่นักกอล์ฟบางคนมีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดได้ง่ายกว่าขึ้นอยู่กับวงสวิงและนิสัยในการสวิงที่ไม่ถูกต้องของบุคคลนั้นๆด้วย
ยกตัวอย่างลักษณะของผู้ที่มักปวดสะโพกได้ง่ายเช่น ผู้ที่หลังค่อมเมื่อทำการตั้งท่าเป็นต้น ไม่ว่าท่าทางในการตั้งท่าหลังของคุณจะค่อมหรือแอ่นมากเกินไป การแบ็คสวิง (back swing) ก็จะทำได้อย่างไม่มีอิสระ
ดังที่กล่าวไปข้างต้น แม้ว่าการแบ็คสวิงจะทำได้อย่างไม่มีอิสระ
แต่การพยายามบิดจะทำให้สะโพกยังต้องรับน้ำหนัก
นอกจากนี้ผู้ที่มีลักษณะวงสวิงแบบ revert pivot มีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดสะโพกด้วยเช่นกัน
revert pivot คือ อาการที่น้ำหนักอยู่ที่เท้าซ้ายตั้งแต่แบ็คสวิงไปจนถึงจุดสูงสุดของวงสวิงและแกนเอียงไปทางด้านซ้าย และตั้งแต่การฟอลโล (follow) ไปจนจบสวิงแกนกลับเอียงไปทางขวา เนื่องจากสะโพกไม่หมุนไปตามระดับและแอ่นไปมา จึงทำให้ต้องรับภาระที่มากขึ้น
และผู้ที่สวิงแบบ cut shot ก็มีแนวโน้มที่จะปวดสะโพกด้วยเช่นกัน นักกอล์ฟที่สวิงแบบ cut shot (slicer) ไหล่ขวามักจะลดต่ำลงได้ง่ายเมื่อถึงขั้นตอนการฟอลโล หากไหล่ขวาลดต่ำลงจะทำให้สะโพกแอ่นทำให้ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ตราบใดที่หมุนสะโพกได้ตามระดับก็จะเกิดการบาดเจ็บได้ยาก
อีกอย่างหนึ่งคือ มีหลายกรณีที่ผู้เล่นที่จบสวิงด้วยท่าแบบตัว c กลับด้านมักจะมีโอกาสปวดสะโพก การจบสวิงด้วยท่าทางนี้หมายถึงการทีสะโพกแอ่นอยู่นั่นเอง หากเป็นท่าจบสวิงแบบตัว I ทั้งร่างกายส่วนบนและสะโพกจะหมุนไปตามระดับ ทำให้ไม่เกิดการรับน้ำหนักที่สะโพก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนวงสวิงที่ถูกต้องให้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดสะโพก แต่ถึงแม้ว่าตัววงสวิงจะไม่มีปัญหา หากนักกอล์ฟคุ้นชินกับการสวิงแบบเต็มกำลังหรือตั้งใจกับการฝึกซ้อมมากเกินไป ก็จะทำให้สะโพกต้องรับภาระอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักกอล์ฟที่มีลักษณะดังที่กล่าวมาจะต้องฝึกฝนแกนลำตัวให้แข็งแรงและใส่ใจกับการรักษาข้อต่อสะโพกให้ยืดหยุ่นอยู่เสมอ เนื่องจากสะโพกจะถูกค้ำยันไว้ด้วยกล้ามเนื้อของแกนลำตัว หากเสริมสร้างกล้ามเนื้อของแกนลำตัวให้มีความแข็งแรงก็จะช่วยลดภาระหน้าที่ของสะโพกได้
นอกจากนี้การบิดสะโพกเป็นหน้าที่ของข้อต่อสะโพก การที่สะโพกแอ่นเมื่อทำการสวิง อาจเกิดจากสาเหตุที่ข้อต่อสะโพกไม่มีความยืดหยุ่น ดังนั้นการยืดกล้ามเนื้อทุกวันจึงมีประโยชน์ในการป้องกันอาการปวดสะโพกได้

สรุปในครั้งนี้

ในครั้งนี้ได้แนะนำวิธีการเทรนนิ่งง่ายๆที่ทำได้ในชีวิตประจำวันที่มีประโยชน์ในการทำให้วงสวิงกอล์ฟมีสภาพที่เหมาะสมไปแล้ว
อาจเป็นเรื่องยากที่จะจัดสรรเวลาสำหรับการฝึกซ้อม แต่ถ้าคุณรวมการฝึกเข้ากับชีวิตประจำวันได้ นี่ก็อาจเป็นทางลัดในการพัฒนาการเล่นกอล์ฟของคุณ
การเทรนนิ่งที่ถูกต้องสามารถช่วยในเรื่องอาการปวดสะโพกได้ ดังนั้นโปรดลองใช้บทความนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการฝึกดู

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า3~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย ~สวิงโดยไม่ฝืน・ไม่เสียแรงเปล่า4~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form