ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ4~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ4~

คอลัมน์

2023.04.20

ในคอลัมน์อื่นได้แนะนำเกี่ยวกับการอ่านไลน์ที่มองผ่านและหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเพิ่มความแม่นยำของการพัตติ้ง (putting) ไปแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งอื่นๆอีกมากมายที่ต้องพิจารณาเมื่อพัตติ้ง
หากคุณทราบปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นและวิธีในการจัดการกับปัญหา คุณก็มีแนวโน้มที่จะสามารถเอาตัวรอดได้เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว
ดังนั้นในคอลัมน์นี้ จะมาแนะนำบางสิ่งที่ต้องระวังนอกเหนือจากการอ่านไลน์เมื่อพัตติ้ง ดังนั้นหากคุณต้องการพัฒนาความแม่นยำในการพัตต์ให้มากกว่าตอนนี้ โปรดนำไปอ้างอิงในการฝึกของคุณดู

【สารบัญ】
1.สิ่งที่คุณต้องทำคือตี「ตรง 50 เซนติเมตร」 (ส่วนประกอบสำคัญของสโตรค)
2.สาเหตุที่พัตต์ไม่เข้าถ้าตำแหน่งตาไม่ดี (ความสัมพันธ์ระหว่างแนวสายตากับทิศทางของลูก)
3.การจับเทคนิค「การกะระยะทางขึ้นลง」(สูตรของความแตกต่างของระดับความสูงต่ำ)
4.สรุปในครั้งนี้

สิ่งที่คุณต้องทำคือตี「ตรง 50 เซนติเมตร」 (ส่วนประกอบสำคัญของสโตรค)

เราได้อธิบายหลากหลายเรื่องเกี่ยวกับการอ่านไลน์ต่างๆไปแล้ว ทีนี้จะกลับมาพูดถึงเรื่องการสโตรคของพัตติ้งกันอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ได้พูดไปแล้วว่า การสโตรคจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบุคคล แต่เป้าหมายหลักของการสโตรคมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกเหนือจากการกะระยะทาง ก็จะเป็นแค่เรื่องของการ「ตีลูกให้ตรงออกไปทางเป้าหมายที่เล็งไว้」
หากลองคิดดูแล้ว ไม้กอล์ฟอย่างพัตเตอร์ (putter) ไม่สามารถตีได้ตามเป้าหมายที่คิดไว้เช่น ฮุคหรือสไลซ์ หรือลูกสูงลูกต่ำได้เหมือนไม้กอล์ฟชนิดอื่นๆ แต่นั่นไม่จำเป็นเลย
ในการพัตติ้ง เพียงแค่ตีลูกออกไปให้「ตรง」ไปยังเป้าหมายที่เล็งไว้แล้วก็คือว่าใช่ได้ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าไลน์จะตัดไปทางซ้าย แต่เพียงแค่หลุมสมมติอยู่ทางขวาของหลุมจริง การเล็งก็จะตรงไปยังหลุมสมมตินั้น
จนถึงตอนนี้ เราได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับวิธีการอ่านไลน์ต่างๆไปแล้ว แต่ในตอนสุดท้ายไม่ว่าหลุมสมมติจะอยู่ตรงไหน เมื่อทำการสโตรคจะต้องตี「ตรง」ไปยังหลุมสมมติและสัญลักษณ์ที่ทำไว้เป็นจุดสังเกต (spot)
ไม่ว่าจะสโตรคแบบไหน ขอแค่สามารถ「ตีตรงไปยังจุดที่เล็ง」ได้ก็ถือว่าใช้ได้
ถึงจะเป็นการตีลูกในระยะเส้นตรง แต่ในการฝึกระยะแรก ให้ฝึกโดยตีตรงให้ได้ 3 เซนติเมตรก่อน ระยะห่าง 3 เซนติเมตร จะเป็นสภาพที่เหมือนกับการมองเห็นหลุมได้ไม่ชัดเจนที่ปลายด้านซ้ายของสายตาในขณะที่ตั้งท่าพัตติ้ง และจะไม่หลุดออกง่ายๆเว้นแต่จะมีบางอย่างที่ผิดปกติ ให้คิดว่า ไม่ว่าจะเป็นพัตต์ 3 เมตรหรือ 10 เมตร หากคุณตีตรงๆ ได้ 3 เซนติเมตรและสัมผัสได้เข้ากัน คุณก็จะสามารถพัตต์ลูกลงหลุมได้
โปรบางคน กำหนดทิศทางการตีบนไลน์ที่อยู่ก่อนหน้าลูกประมาณ 3 เซนติเมตร (spot) และมีบางคนทำการสโตรคโดยมีแค่ความตั้งใจที่จะทำให้ผ่านตรงนั้นไปเท่านั้น หลังจากนั้นก็แค่คิดว่าเหลือแค่ปัญหาด้านการสัมผัสเพียงเท่านั้นการพัตติ้งก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ และอัตราการลงหลุมก็น่าจะเพิ่มขึ้น

สาเหตุที่พัตต์ไม่เข้าถ้าตำแหน่งตาไม่ดี (ความสัมพันธ์ระหว่างแนวสายตากับทิศทางของลูก)

การไม่สามารถตีพัตต์ได้「ตรง」เป็นข้อบกพร่องร้ายแรงสำหรับนักกอล์ฟ แต่ในหลายกรณี สาเหตุไม่ใช่วิธีในการตี แต่เป็น「ตำแหน่งของตา」ในการเตรียมท่าพัตติ้ง เป็นพื้นฐานที่ตาทั้งสองข้างจะอยู่เหนือไลน์สมมติ แต่ถ้าตาทั้งสองข้างอยู่ในไลน์หล่ะ?
ในกรณีนี้ คุณจะมองเห็นหลุมอยู่ทางขวาของไลน์ ดังนั้นนักกอล์ฟจึงหันลำตัวและหน้าไม้ของพัตเตอร์ไปทางขวาแบบไม่รู้ตัว จากนั้นเขาก็จะคร่ำครวญว่า「ฉันดันออกขวาไปซะแล้ว」แต่เดิมทีทั้งลำตัวและหน้าไม้หัวไปทางขวาอยู่แล้วต่างหาก จึงไม่ใช่การดันออกแต่อย่างใด เป็นแค่การหันไปทางขวาแล้วตีตรงไปเท่านั้นเอง
ในทางกลับกัน เมื่อตาทั้งสองอยู่นอกไลน์ รอบนี้คุณจะมองเห็นถ้วยอยู่ทางด้านซ้ายของไลน์ ดังนั้นนักกอล์ฟจึงหันลำตัวและหน้าไม้ของพัตเตอร์ไปทางซ้ายอย่าไม่รู้ตัว ในกรณีนี้เขาก็จะพูดว่า「โอ้ ไม่นะ ฉันสะดุดซะแล้ว」แต่ที่จริงแล้วจะเห็นได้ว่าเขาแค่หันซ้ายและตีตรงไปเท่านั้น
เช่นนั้นทั้งสองกรณีนี้ไม่ได้แปลว่านักกอล์ฟตีได้ไม่ดี แต่ตำแหน่งของตาและทิศทางการหันของร่างกายและหน้าไม้ซึ่งขึ้นอยู่กับสายตานั้นไม่ดี
เนื่องจากกอล์ฟเป็นกีฬาที่มีเป้าหมาย ตาจึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญมาก ข้อมูลที่ได้รับจากดวงตาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการพัตติ้งที่ต้องอ่านไลน์ที่มีความละเอียด และนอกจากนี้ข้อมูลจากดวงตายังควบคุมไปจนถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เรียกว่าสโตรคอีกด้วย ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพัตติ้งโดยส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดยขึ้นอยู่กับ「มองที่ไหน」และ「มองอย่างไร」ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับดวงตาของคุณให้มาก

การจับเทคนิค「การกะระยะทางขึ้นลง」(สูตรของความแตกต่างของระดับความสูงต่ำ)

ความเร็วของกรีนจะถูกวัดโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า stimpmeter ซึ่งอุปกรณ์นี้ก็เหมือนไม้ลื่นที่ใช้กลิ้งลูกกอล์ฟ เป็นแท่งรางรูปตัว V ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรมีรอยบากที่เอาไว้หยุดลูกกอล์ฟห่างจากปลายอีกด้านด้านหนึ่งประมาณ 5 เซนติเมตร
วิธีใช้ก็คือ วาง stimpmeter บนกรีนส่วนที่เป็นแนวราบ วางลูกกอล์ฟบนรอยบาก จากนั้นยกส่วนปลายขึ้นให้ลูกกอล์ฟไหลออกมาจากรอยบากและกลิ้งไปอย่างเป็นธรรมชาติ ลูกกอล์ฟจะเริ่มกลิ้งเมื่ออยู่ที่ความสูงประมาณ 3 เซนติเมตร และมุมในขณะนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3 องศา ทำเช่นนี้แล้ววัดระยะทางที่ลูกกอล์ฟกลิ้งไปบนกรีน ถัดไปเปลี่ยนเป็น 180 องศาและวัดระยะทางในลักษณะเดียวกัน ค่าเฉลี่ยที่ได้ออกมากก็จะเป็นค่า stimpmeter
สรุปก็คือ ลูกกอล์ฟที่ถูกปล่อยออกจากไม้ลื่นยาว 75 เซนติเมตร และมีมุมเอียง 20 องศา ระยะทางที่กลิ้งบนกรีนคือค่าตัวเลขที่แสดงความเร็วของกรีน สมมติว่า ค่า stimpmeter ที่อ่านได้คือ 9 ฟุต ( 2 เมตรกกับอีก 4 เซนติเมตร) ให้ลองสับเปลี่ยนตัวเลขที่ได้ออกมาให้เป็นการพัตติ้งจริงๆดู
อย่างแรก บนไลน์ลงเนินที่มีระดับความสูงต่ำต่างกัน 5 เซนติเมตร เพียงแค่สัมผัสเบาๆลูกกอล์ฟก็สามารถกลิ้งได้ไกลอย่างน้อ「 2 เมตร 74 เซนติเมตร + 75 เซนติเมตร(ความยาวของไม้ลื่น stimpmeter) 」ถ้าทำให้เป็นกฎเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น พูดโดยคร่าวๆก็คือ ลูกกอล์ฟจะกลิ้งได้ไกลขึ้นประมาณ 1 เมตร ทุกๆ 10 เซนติเมตร
ยกตัวอย่างเช่น ในการพัตต์ลงเนิน 10 เมตร สมมติว่ามีระดับความสูงต่ำแตกต่างกัน 30 เซนติเมตร ถ้าสามารถตีด้วยกันการสัมผัสได้ 7 เมตรบนกรีนที่มีความราบเรียบ ลูกกอล์ฟก็จะไปถึงหลุม แต่หากเป็นการตีขึ้นเนินจะกลับกัน ในการตีขึ้นเนินคุณจะสูญเสียพลังงานในการกลิ้งไป 1 เมตรในทุกๆ 10 เซนติเมตร
กล่าวคือ เพื่อให้สามารถตีไลน์ด้านหน้าจากทิศทางตรงกันข้ามให้ลงหลุมได้ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือสโตรคโดยต้องพัตต์ให้ได้ 3 เมตรบนกรีนที่มีความราบเรียบ
กฎนี้ไม่เพียงแต่ใช้กับกรีนที่มีความลาดเอียงสม่ำเสมอเท่านั่น แต่ยังใช้กับกรีนสองชั้น หรือกรีนที่มีความลาดเอียงซับซ้อนเช่น กรีนที่ลงเนินและขึ้นเนินและลงเนินอีกครั้งได้ด้วย ประเด็นคือ ไม่ว่าคุณจะใช้เส้นทางใดในการไปให้ถึงหลุมจากจุดที่ลูกกอล์ฟอยู่ สิ่งที่คุณต้องดูก็คือความแตกต่างของระดับความสูงต่ำนั่นเอง

สรุปในครั้งนี้

จนถึงตอนนี้ เราได้ทำการอธิบายการสโตรค สายตา และความแตกต่างของระดับความสูงต่ำที่เกี่ยวข้องกับการพัตติ้งไปแล้ว พอจะมีประโยชน์กับทุกท่านบ้างหรือไม่
มีบางคนที่สามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ และบางคนก็ไม่เคยตระหนักถึงมันมาก่อนจนถึงตอนนี้ ไม่มีจุดใดที่ยาก ดังนั้นมาเน้นไปทีละจุดและพัฒนาความแม่นยำในการพัตติ้งของคุณดู เมื่อคุณมีความรู้สึกมั่นคงในเทคนิคของตนเองแล้ว คุณก็จะสามารถตีได้ใกล้เคียงกับสภาพที่รู้สึกสงบได้ แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างเช่น การพัตติ้ง
โปรดใช้คอลัมน์นี้เป็นข้อมูลอ้างอิงและพยายามมีความมั่นใจในทักษะการเล่นกอล์ฟของตนเอง นอกจากนี้ เมื่อความแม่นยำในการพัตต์ของคุณดีขึ้น คะแนนโดยรวมก็จะดีขึ้นด้วย ดังนั้นหากคุณกำลังตั้งเป้าที่จะปรับปรุงคะแนน โปรดนำไปลองใช้ดู

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ2~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ3~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form