ความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์|GOLF MEETS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาสนามกอล์ฟและข้อมูลกีฬากอล์ฟในประเทศไทย

GOLF MEETS THAILAND

GOLF MEETS THAILAND

Columnความรู้เบ็ดเตล็ด/คอลัมน์

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ6~

【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ6~

คอลัมน์

2023.04.30

ในการเล่นกอล์ฟ แม้ว่าคุณจะทำความเข้าใจความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างได้เป็นอย่างดี แต่คุณก็ยังกังวลอยู่ว่าจะไม่สามารถตีลูกด้วยความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างที่จินตนาการเอาไว้ได้ใช่หรือไม่ จริงๆแล้ววิธีการคิดแบบง่ายๆมักใช้ไม่ได้ผลกับการปรับแรงให้เข้ากับความรู้สึกที่มีต่อระยะทาง ดังนั้นในคอลัมน์นี้จะมาบอกเคล็ดลับของวิธีการสวิงให้เข้ากับความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างในการพัตติ้ง (putting)

【สารบัญ】
1.คำโกหกที่ว่า「ระยะห่าง 2 เท่า เหวี่ยง 2 เท่า」(ฟิสิกส์ของลูกตุ้ม)
2.สาเหตุที่ความกว้างของวงสวิงจะไม่เป็น 2 เท่าแม้ว่าระยะห่างจะเพิ่มเป็น 2 เท่าก็ตาม
3.สรุปในครั้งนี้

คำโกหกที่ว่า「ระยะห่าง 2 เท่า เหวี่ยง 2 เท่า」(ฟิสิกส์ของลูกตุ้ม)

ตีลูกหลายๆครั้งเพื่อจับความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างของพัตติ้ง (putting)

เพื่อให้จับความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างของพัตติ้งได้ สุดท้ายแล้วก็มีแค่การลองตีลูกดูหลายๆครั้งเพียงเท่านั้น นั่นเหมือนกันกับกีฬาเบสบอล เมื่อมีคนถามว่า「คุณเพิ่มลดแรงอย่างไรเมื่อขว้างลูกบอลในระยะ 10 เมตร」ไม่มีใครตอบได้ เมื่อเด็กๆเล่นจับบอลเป็นครั้งแรก ในตอนแรกลูกบอลอาจไปไม่ถึงฝ่ายตรงข้ามบ้าง หรือไม่ก็ขว้างไปไกลจนฝ่ายตรงข้ามจับลูกบอลไม่ได้แม้จะพยายามกระโดดแล้วก็ตาม แต่เมื่อเล่นจับบอลซ้ำๆหลายๆครั้ง ความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างก็จะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น การพัตติ้งก็เช่นเดียวกัน ด้วยการพัตติ้งซ้ำๆหลายๆครั้ง เมื่อคุณมีระยะ 5 เมตรของคุณเองแล้ว คุณก็ทำได้แค่จับการทัช (touch) ระยะ 5 เมตรเท่านั้น
แต่ถ้าณจุดนี้คุณจับการทัชระยะ 5 เมตรได้ แล้วถ้าเป็น 10 เมตร การทัชของคุณจะเป็นอย่างไร? เราจะมาแนะนำว่าฟิสิกส์สอนอะไรเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้
สมมติว่าคุณควบคุมความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างของการพัตต์ด้วยความกว้างของวงสวิงของหัวพัตเตอร์ (putter) วิธีการสโตรค (stroke) จะใช้สมการลูกตุ้มแบบโบราณ
ในกรณีนี้ ตามหลักฟิสิกส์แล้ว จะเป็นการสร้างความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างด้วย「ความสูงของหัวไม้」ไม่ใช่「ความกว้างของวงสวิงหัวไม้」กล่าวคือ การปล่อยหัวไม้จากความสูงระดับหนึ่งเข้าหาลูกบนกรีน พลังงานศักย์ของหัวไม้จะถูกแปลงเป็นพลังงานในการกลิ้งของลูก

สาเหตุที่ความกว้างของวงสวิงจะไม่เป็น 2 เท่าแม้ว่าระยะห่างจะเพิ่มเป็น 2 เท่าก็ตาม

จะเห็นได้ว่า นักกอล์ฟที่เคยชินกับความรู้สึกที่มีต่อระยะห่างในระยะ 5 เมตร จะยกหัวพัตเตอร์ให้สูงขึ้น 2 เท่าจากระยะ 5 เมตรเพื่อให้ทัชได้ระยะ 10 เมตร แต่ปัญหาคือ ในกรณีการใช้สมการลูกตุ้ม ความสูงของหัวไม้จะไม่สมส่วนกับความกว้างของวงสวิง ความกว้างของวงสวิงหัวไม้จะสมส่วนกับรากที่ 2 (สแควร์รูท) ของความสูง นั่นหมายความว่า สมมติว่าถ้าหัวไม้ถูกดึงออกมา 20 เซนติเมตรเมื่อทำการทัชระยะ 5 เมตร เมื่อทำการทัชระยะ 10 เมตร ความกว้างของวงสวิงประมาณ 1.41 เท่าซึ่งเป็นรากที่ 2 ของ 2 เท่า (ในกรณีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 28 เซนติเมตร) ก็เพียงพอแล้ว
แน่นอนว่ามนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร ดังนั้นจึงไม่สามารถพัตติ้งให้เหมือนลูกตุ้มได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ที่แน่ๆหากระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าความกว้างของวงสวิงจะไม่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างแน่นอน

สรุปในครั้งนี้

ดังที่ได้แนะนำไปในครั้งนี้ การที่ระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่ได้แปลว่าความกว้างของวงสวิงจะต้องเพิ่มขึ้น 2 เท่าเสมอไป นอกจากนี้ การตีซ้ำๆหลายๆครั้งเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการเรียนรู้การปรับแรงให้เข้ากับความรู้สึกที่มีต่อระยะห่าง กอล์ฟไม่ใช่กีฬาที่เล่นได้ง่ายๆ ดังนั้นโปรดอดทนและเรียนรู้ประสาทสัมผัสของคุณให้ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ4~
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:【กอล์ฟจะเก่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์】วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัตต์ (putt)~ตีขึ้นไลน์ (line) ให้ได้ตามจินตนาการ5~

Contact

กรุณาส่งความคิดเห็นและความต้องการของท่านเกี่ยวกับ GOLF MEETS ในลิงค์ด้านล่าง

Mail form